อารัญญิกังคะ: ความสำคัญและอานิสงส์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 161
หน้าที่ 161 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความแตกต่างในการปฏิบัติธรรมของอารัญญิกภิกษุที่อยู่ในเสนาสนะชายบ้านและประโยชน์ที่เกิดจากการอยู่ในป่า เช่น การรักษาสมาธิ การลดความกลัว และการปล่อยวางความผูกพันในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-อารัญญิกังคะ
-อานิสงส์
-ปฏิบัติธรรม
-วิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ [ความแตกแห่งอารัญญิกังคะ ] 157 ก็เมื่ออารัญญิกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ มาแต่ป่าในเวลาที่ได้กำหนด ไว้แล้วอย่างไร ฟังธรรมอยู่ในเสนาสนะชายบ้าน แม้จนอรุณขึ้น ธุดงค์ย่อมไม่แตก, ฟังธรรมแล้วไป แม้อรุณขึ้นในระหว่างทาง ธุดงค์ ก็ไม่แตก, แต่เมื่อพระธรรมกถึกลุกขึ้นแล้ว เธอคิดว่า นอนสักครู่ แล้วจักไป ดังนี้ นอนเสีย จนอรุณขึ้น หรือว่ายังอรุณ ให้ตั้งขึ้นใน เสนสนะชายบ้านตามชอบใจตน ธุดงค์ย่อมแตกแล นี้เป็นความแตก ในอารัญญิกังคะนี้. [ อานิสงส์แห่งอาริญญิกังคะ] ส่วนอานิสงส์มีดังนี้ (๑) อารัญญิกภิกษุทำความสำคัญว่าป่า ไว้ในใจอยู่ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะได้สมาธิที่ยังไม่ได้บ้าง เพื่อจะรักษา สมาธิที่ได้ไว้แล้วบ้าง (๒) แม้พระศาสดาทรงชื่นชมต่อเธอ ดังที่ ตรัสว่า ดูกรนาคิตะ เพราะเหตุนั้น เราจึงมีใจยินดีด้วยการอยู่ป่า ของภิกษุนั้น (๓) อันตรายทั้งหลายมีรูปที่ไม่เป็นสัปปายะเป็นต้น ย่อมไม่รบกวนจิตของเธอผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด (๔) เธอย่อมหาย ความสะดุ้งกลัว (๕) ย่อมละความเยื่อใยในชีวิตได้ (๖) ย่อมยินดีรส แห่งความสุขอันเกิดแต่วิเวก และ (๓) แม้ความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นต้น ย่อมเป็นภาวะที่เหมาะสมแก่เธอด้วย * อง, อฏฐก. ๒๓/๒๕๖
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More