ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสงสาร
เป็นต้น.
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 35
หรือนัยหนึ่งว่า เพราะความเป็นผู้ใช้ผ้าที่ฉีกเป็นชิ้นแล้ว
ในบทว่า สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ มีความว่า คำว่า ปาฏิ
โมกข์ หมายเอาศีลที่เป็นสิกขาบท เพราะว่าผู้ใดเฝ้าระวัง คือรักษาศีล
นั้น ศีลนั้นย่อมยังผู้นั้นให้รอด คือให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ใน
อบายเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ศีลนั้นท่านจึงเรียกว่า ปาฏิโมกข์
ความปิดกั้น ชื่อว่าสังวร คำว่า สังวรนี้ เป็นชื่อแห่งความไม่ละเมิด
สังวรคือปาฏิโมกข์ ชื่อว่าปาฏิโมกข์สังวร
ทางกายและทางวาจา
ภิกษุสำรวมแล้ว คือเข้าถึง ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังวรคือปาฏิโมกข์
นั้น ชื่อว่าผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกข์สังวร บทว่า วิหรติ คือผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถอยู่.
[ อาจาระ อนาจาระ ]
เนื้อความแห่งคำว่า "ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร" เป็นต้น
พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในพระบาลีนั่นแล จริงอยู่ พระธรรมสังคาห
๑. ครั้งแรก (วิสุทธิมรรคหน้า 4) แก้ไว้อรรถเดียว คือเห็นภัยในสงสาร
อิกฺขติ) คราวนี้แก้เพิ่มอีกอรรถหนึ่ง คือใช้ผ้าฉีก (ภินนปฏธโร) มีอาทิไว้ด้วย
)
ກຍ
๒. ตามนี้ ปาฏิโมกข์ แปลว่า ศีลที่ยังรักษาให้พ้น ท่านแก้เอาตามรูปของศัพท์ง่าย ๆ ดี แต่
ทางนักปราชญ์ไทยเรา ดูเหมือนจะไม่ชอบแปลอย่างนั้น ท่านแปลโดยความหมายทางหนึ่งว่า เป็น
หลักเป็นประธาน ใช้ประกอบกับธรรมก็ได้ เช่นโอวาทปาฏิโมกข์ ก็ไม่เคยได้ยินใครแปลว่า โอวาท
ที่ยังผู้ปฏิบัติให้พ้น ได้ยินแต่ว่าคำสอนอันเป็นหลัก หรือหลักคำสอน
M.
ปาฏิโมกขเมว สิวโร ก็ต้องแปลว่า สังวรคือปาฏิโมกข์ จะเป็นนิยามเฉพาะอรรถแห่ง
สังวร ๕ นี้กระมัง ท่านแก้อรรถให้แปลแบบเดียวกัน คือ สติสังวร สังวรคือสติ ขันติสังวร
สังวรคือขันติ วิริยสังวร สังวรคือวิริยะ แต่ในที่อื่นเป็น ปาฏิโมกฺเข จ สวโร - สังวร ใน...