การบริโภคของภิกษุในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 92
หน้าที่ 92 / 184

สรุปเนื้อหา

การบริโภคของภิกษุในพระพุทธศาสนามีหลายประเภท ได้แก่ ไถยบริโภค, อิณบริโภค, ทายัชชบนิโภค, และสามีบริโภค การบริโภคแต่ละประเภทมีผลต่อศีลและความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ข้อความอธิบายว่า ไถยบริโภคคือการบริโภคโดยไม่อนุญาตจากเจ้าของนับว่าเป็นการขโมย ส่วนอิณบริโภคคือการบริโภคที่ไม่ถูกต้องตามศีล เรื่องนี้ยังแบ่งการบริโภคเป็นประเภทที่เหมาะสมสำหรับภิกษุมีศีลและภิกษุทุศีล ที่ต้องมีการพิจารณาในบริโภคเพื่อไม่ให้ผิดศีลและก่อให้เกิดความเสียหายต่อทักขิณาและความบริสุทธิ์ทั้งหลาย การปฏิบัติการบริโภคที่ถูกต้องควรอยู่ในกรอบที่ศาสนากำหนดและผู้ให้ควรบริจาคเพื่อคนมีศีลเท่านั้น

หัวข้อประเด็น

-ประเภทการบริโภคของภิกษุ
-ผลของการบริโภคต่อศีล
-ความแตกต่างระหว่างภิกษุมีศีลและทุศีล
-บทบาทของทายกในการบริจาคปัจจัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 89 การบริโภคของภิกษุผู้บริโภคปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ที่พิจารณา โดยเป็นธาตุ หรือโดยเป็นปฏิกูล แม้ในเวลาได้มาแล้วเก็บไว้ ต่อ จากเวลาได้นั้นไป ก็หาโทษมิได้เลย แม้ในเวลาบริโภค (ต่อไป) นี้เป็นวินิจฉัยที่ทำความตกลง (ไม่มีสงสัย) ในการ พิจารณาเวลาบริโภคปัจจัยนั้น ก็การบริโภค มี ๔ คือ ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย) อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้) ทายัชชบนิโภค สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก) (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ในบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุทุศีล ผู้นั่งบริโภค อยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่าไถยบริโภค การบริโภคปัจจัยอันตน มิได้พิจาณา ของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค” เพราะเหตุนั้น 0. ในมหาฎีกาแสดงอุปมาว่า อธิฏฐหิตวา ปิตปตฺตจีวราน วิย (เหมือนการบริโภคบาตรและ จีวรที่อธิษฐานแล้วเก็บไว้ฉะนั้น) ๒. มหาฎีกาขยายความ ไถยบริโภค และ อิณบริโภค ไว้ว่า อันปัจจัยทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ เพื่อภิกษุผู้ศีลในศาสนาของพระองค์หาใช่ทรงอนุญาตเพื่อ คนทุศีลไม่ ฝ่ายทายกเล่า เขาบริจาคปัจจัย ก็เพื่อท่านผู้มีศีลเหมือนกัน หาใช่บริจาคเพื่อคน ทุศีลด้วยไม่ ทั้งนี้ เพราะเขาหวังให้การกุศลของเขามีผลมาก ก็เพราะพะศาสดามิได้ทรงอนุญาต ทายกก็มิได้บริจาคให้ ดังนี้ การบริโภคของภิกษุทุศีล จึงเป็นบริโภคโดยกิริยาแห่งขโมย คือ บริโภคของที่เขาไม่ให้ เรียกว่า ไถยบริโภค ส่วนภิกษุมีศีล แต่บริโภคปัจจัยมิได้พิจารณานั้น ทำให้ทักขิณาขาดความถึงพร้อมไป ไม่เป็นอุภโตวิสุทธิ์ เพราะไม่วิสุทธิฝ่ายปฏิคาหก กรบริโภคของเธอจึงเป็นเหมือนหนี้เขา บริโภค หมายความว่า เป็นหนี้ทักขิณาวิสุทธินั่นเอง เรียกว่า อิณบริโภค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More