ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 136
ในเสนาสนะชายบ้าน สำหรับภิกษุเตจีวริกะนั้น ส่วนผู้เป็นอารัญญิกะ
จะซักซ้อม ๒ ผืนในคราวเดียวกันก็ได้ แต่จึงนั่งอยู่ใกล้ ๆ (ผ้า) พอ
ที่เห็นว่าใคร ๆ มา สามารถจะซักผ้ากาสาวะ (ที่ตากอยู่) มาคลุมตัว
ได้ทัน. ส่วนสำหรับท่านผู้ถือกลางอย่าง ตามปกติ ผ้ากาสาวะสำหรับ
(ยืมใช้ในเวลา) ย้อมผ้าในโรงย้อมมีอยู่ นั่งหรือห่มผ้า (สำหรับยืม
ใช้) นั้นแล้ว ทำรชนกรรม (การย้อมผ้าของตน) ก็ควร. สำหรับ
ผู้ถืออย่างเพลา จะนั่งหรือห่มจีวรของภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วทำรชน-
กรรมก็ควร แม้ผ้าปูนอนอันเป็นของมีอยู่ในเสนาสนะนั้น ก็ควรแก่
เธอ แต่จะรักษาไว้ (ใช้เป็นนิจไป) ไม่ควร จะ (ยืม) ใช้แม้จีวร
ของภิกษุผู้ชอบพอกันในระหว่าง ๆ ย่อมไม่ควร
ก็แลภิกษุเตจีวริกะ
จะมีผ้าผืนที่ 4 เพิ่มขึ้นก็ได้แต่ผู้ฟังสะอย่างเดียว แต่ผ้าอังสะนั้น กว้าง
ประมาณคืบหนึ่ง ยาวประมาณสามศอกเท่านั้นจึงควร
*
ฉบับสีหลและฉบับยุโรป ไม่มีคำปฏิเสธ การมีคำปฏิเสธ กับไม่มีคำปฏิเสธเป็นเรื่องสำคัญ
อยู่ ควรจะวิจารณ์ดูบ้าง
โดยทางไวยากรณ์ น ศัพท์ ที่ปฏิเสธ วฏฏติ มักเรียงไว้ติดกับ วฤฤติ เป็น น วฤฤติ
ดูในธุดงคนิเทศนี้เองก็เห็นอยู่เช่นนั้นเป็นแถวไป มาแปลกเพื่อนอยู่ตรงนี้แห่งเดียวเรียง
ประโยคทีเดียว - น สภาคภิกขุน ฯ เป ฯ วฏฏติ ดังนี้
น ไว้ต้น
โดยทางความที่ควรจะเป็น การยืมใช้จีวรของภิกษุที่ชอบพอกันในเมื่อย้อมผ้าของตนนั้นเป็นการ
ควรอยู่แล้ว ก็การซักย้อมผ้านั้น ย่อมจะต้องทำเนือง ๆ ไปหลายครั้งหลายหน การยืมผ้าเขา
ผลัดก็จะต้องมีทุกครั้งนั่นเอง แม้จะยืมเขาใช้ครั้งไหนกี่ครั้งก็ควรทุกครั้งไป ท่านจึงว่า อนุตรน
ตรา
ปริภุญชิต วฏฏติ (ยืมเขา) ใช้ในระหว่าง ๆ (คือหลายครั้ง) ก็ควร ความน่าจะเป็นดังนี้
ไม่น่าจะว่า "ไม่ควร" เลย
โดยทางพยัญชนะ ศัพท์ อนุตรนุตรา นั่นแหละ สนับสนุนความที่ว่านั้น คือ ไม่ได้ถือ
สิทธิเป็นของตัว ยืมเขาใช้เป็นระหว่าง ๆ เท่านั้น จึงว่าควร