วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 30
หน้าที่ 30 / 184

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้อธิบายถึงประเภทของศีลที่สำคัญในวิสุทธิมรรค ได้แก่ หีนศีล, มัชฌิมศีล และปณีตศีล รวมถึงการประพฤติศีลโดยพิจารณาจากความปรารถนาและแรงจูงใจของแต่ละบุคคล การเข้าใจศีลทั้งสามเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาจิตใจและการปฏิบัติธรรม โดยมีอัตตาธิปไตยยศีลและโลกาธิปไตยยศีลที่ต้องพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของศีล
-ความหมายของศีล
-ความสำคัญของศีล
-การประพฤติศีลในการปฏิบัติธรรม
-อัตตาธิปไตยยศีล
-โลกาธิปไตยยศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 28 ประพฤติด้วยฉันทะเป็นต้นอย่างประณีต ชื่อว่าปณีตศีล อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่สมาทานด้วยความปรารถนายศ ชื่อว่าหีนศีล ที่สมาทานด้วย ต้องการผลบุญ ชื่อว่ามัชฌิมศีล ที่สมาทานอาศัยอริยภาวะ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้ควรทำแท้ ชื่อว่าปณีตศีล อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่เศร้าหมอง ด้วยโทษมีการยกตนข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า "เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก" ดังนี้เป็นต้น เป็นหินศีล โลกิยศีลที่ไม่เศร้าหมองอย่างนั้น เป็นมัชฌิมศีล โลกุตตรศีล เป็นปณีตศีล อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่ประพฤติเพื่อ ต้องการภพและโภคะด้วยอำนาจตัณหา เป็นหินศีล ที่ประพฤติเพื่อ ต้องการความหลุดพ้นแห่งตน เป็นมัชฌิมศีล ศีลบารมีที่ประพฤติ เพื่อต้องการความหลุดพ้นแห่งสรรพสัตว์ เป็นปณีตศีล ทราบศีลเป็น ๓ อย่าง โดยเป็นหีนศีล มัชฌิมศีล และปณีตศีล ด้วยประการฉะนี้. ( ติกะที่ ๒] บัณฑิตพึง พึงทราบวินิจฉัยในติกะที่ ๒ ต่อไป ศีลที่บุคคลผู้หนักในตน มุ่งจะละกรรมที่ไม่ควรแก่ตน ประพฤติด้วยความเคารพในตน ชื่อว่า อัตตาธิปไตยยศีล (ศีลมีตนเป็นใหญ่) ศีลที่บุคคลผู้หนักในโลก มุ่งจะหลีกคำติเตียนของชาวโลก ประพฤติด้วยความเคารพโลก ชื่อว่า โลกาธิปไตยยศีล (ศีลมีโลกเป็นใหญ่) ศีลที่บุคคลผู้หนักในธรรม มุ่งจะบูชาความใหญ่แห่งธรรม ประพฤติด้วยความเคารพธรรม ชื่อว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More