ข้อความต้นฉบับในหน้า
- หน้าที่
165
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
[วิธี (ปฏิบัติ) ในโสสานิกังคะ ]
ก็แลคนทั้งหลายเมื่อตั้งหมู่บ้าน กำหนดที่ใดไว้ว่า ที่นี่เป็น
ป่าช้า โสสานิกภิกษุนั้นอย่าเพิ่งอยู่ ณ ที่นั้น เพราะว่าที่นั้น เมื่อศพ
ยังมิได้ถูกเผา ก็ยังไม่นับว่าเป็นป่าช้า แต่ว่า จำเดิมแต่การที่เผาศพ
แล้วไป แม้หากจะร้างไปตั้ง ๑๒ ปี ก็นับว่าเป็นป่าช้าอยู่นั่นเอง ก็แล
โสสานิกภิกษุผู้อยู่ป่าช้านั้น (๑) ไม่ควรให้ทำที่ต่าง ๆ มีปะรำ
จงกรมเป็นต้น ตั้งเตียงตั่ง จัดน้ำฉันน้ำใช้แล้วบอกธรรมอยู่ (ใน
ป่าช้านั้น) เพราะว่าธุดงค์ข้อนี้หนัก” เพราะเหตุนั้น โสสานิกภิกษุ
ควรเป็นผู้ไม่ประมาท แจ้งพระสังฆเถระหรือเจ้าหน้าที่ทางราชการ
ให้ทราบไว้ เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแล้วจึงอยู่” (๒) เมื่อ
จงกรม จึงชำเลืองดูที่เผาศพไปด้วย” (๓) เมื่อไปป่าช้าเล่า
ก็พึงหลีกทางใหญ่เสีย เดินไปทางนอกเถิด” (๔) พึงกำหนดอารมณ์
๑. มหาฎีกาท่านว่า ที่ว่าหนัก หมายความว่า ยากที่จะรักษา
๒. ท่านว่า ป่าช้าเป็นที่ลับคน พวกโจร ไม่ว่าไปทำโจรกรรมมาแล้วก็ดี ยังมิได้ทำก็ดี มักนัด
พบกัน หรือชวนกันเข้าไปซุ่มชุมนุมกันในนั้น หากว่าพวกโจรไปโจรกรรมได้ของมาแล้วไปแบ่งปัน
กันในนั้น พวกเจ้าของทรัพย์รู้เค้าติดตามเข้าไป พวกโจรทิ้งของไว้ใกล้ ๆ ที่ภิกษุนั่งแล้วหนีไป
พวกเจ้าของทรัพย์เห็นของตกอยู่ใกล้ภิกษุเช่นนั้น ก็จะหาว่าเธอเป็นโจรปลอมเป็นภิกษุ แล้วทุบตีเอา
หรือจับตัวส่งเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เพราะฉะนั้น ท่านจึงแนะให้รายงานตัวต่อพระสังฆเถระในวัด หรือ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเป็นหลักฐานไว้เสียก่อน.
๓. ท่านขยายความว่า ถ้าที่เผาศพอยู่ตรงหน้าที่จงกรม ก็แลดูตรงๆ นี่ที่เผาศพอยู่เยื้องไป
ข้าง ๆ จึงให้ชำเลืองดู (แต่พอเห็น ไม่ต้องถึงกับเหลียวไปดู) ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้
เกิดสังเวชไว้เสมอ มิให้เผลอคิดไปอื่น
๔. ทางใหญ่นั้น คนเดินไปมามาก ถ้าเธอเดินไปทางนั้นก็เท่ากับประกาศตัวว่าฉันเป็นโสสานิกะ
ท่านจึงแนะให้เดินไปทางนอก ซึ่งไม่มีใครเดิน จะได้ไม่มีใครรู้ ข้อนี้เนื่องด้วยความมักน้อยอัน
เป็น
สัลเลขปฏิบัติ.