ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
หน้าที่ 7
เหตุ เกิดแต่กรรม" คำว่า จิตต์ ปญฺญญฺจ ภาวย์ ความว่า
"ยังสมาธิและวิปัสสนาให้เจริญอยู่" จริงอยู่ ในคำนี้สมาธิทรงแส
ด้วยหัวข้อคือจิต ส่วนวิปัสสนาทรงแสดงโดยชื่อว่าปัญญา
ดังน
บทว่า อาตาปี แปลว่ามีความเพียร ก็ความเพียร ท่านเรียกว่า
อาตาปะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเผากิเลสให้เร่าร้อน ความเพียรเป็น
เหตุเผากิเลสของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้นภิกษุนั้นจึงชื่อว่าอาตาปี (ผู้มี
ความเพียรเป็นเหตุเผากิเลสให้เร่าร้อน) ปัญญาท่านเรียกว่า เนปกะ
ในคำว่า นิปโก หมายความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงปาริหาริกปัญญาด้วยบทนี้ ก็ในปัญหาพยากรณ์นี้
ปัญญามาถึง ๓ วาระ ในปัญญาทั้ง ๓ นั้น ที่ ๑ ชื่อว่าสชาติปัญญา
(ปัญญามีมาพร้อมกับกำเนิด) ที่ ๒ ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา ที่ ๓
ชื่อว่าปาริหาริกปัญญา (ปัญญาบริหาร) อันเป็นผู้นำในกิจทุกอย่าง
บทว่า ภิกฺขุ มีวิเคราะห์ว่า "ผู้ใดย่อมเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น
ผู้นั้นจึงชื่อว่าภิกขุ."
บทท้ายว่า โส อิมิ วิชฏเย ชฏ ความว่า "ภิกษุนั้น คือ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือด้วยศีลนี้ ด้วยสมาธิที่แสดง
มหาฎีกา ๑/๒๓ ว่า ปัญญาประกอบในการบริหารกัมมัฏฐาน ชื่อว่าปาริหาริกา ปัญญา
ที่กำหนดนำไปซึ่งกิจทุกอย่างมีการก้าวเดินไปเป็นต้น โดยสัมปชัญญะมีสาตถูกสัมปชัญญะเป็นอาทิ
ชื่อสัพพกิจจปริณายกา อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาที่นำสรรพกิจ เป็นต้นว่าการเรียน การไต่ถาม
การทำภาวนา มนสิการวิธีและความเป็นผู้ทำโดยเคารพทำติดต่อไป ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ฉลาด
ในนิมิต ความเด็ดเดี่ยว ไม่หน้าเบ้กลางคัน ทำอินทรีย์ให้เสมอกัน ประกอบความเพียรให้
สม่ำเสมอในกิจเหล่านั้น ชื่อว่า สัพพกิจจปริณายกา