ข้อความต้นฉบับในหน้า
คือการยกฐานะของผู้บวชเอง โดยเปลี่ยนจากสถานภาพเดิมไป
สู่สถานภาพของบุคคลที่ควรแก่การบูชากราบไหว้ เรื่อยขึ้นไป
จนถึงสามัญญผลเบื้องกลาง อันได้แก่การบรรลุสมาธิในระดับ
ต่าง ๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ซึ่ง
ล้วนทําให้จิตใจมั่นคงและสงบสุข และสามัญญผลเบื้องสูง คือ
การบรรลุวิชชา ๘ อันได้แก่ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี
ทิพยโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ
และอาสวักขยญาณ ตามลำดับ
ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสถึงสามัญญผล
เบื้องกลางและเบื้องสูงนั้นได้ทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติที่นักบวชต้อง
ปฏิบัติให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ เพื่อการบรรลุสามัญญผลแต่ละขั้น
ข้อปฏิบัติสําคัญที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรนี้คือ “การถึงพร้อม
ด้วยศีล การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย การมีสติ
สัมปชัญญะ การเป็นผู้สันโดษ และการเจริญภาวนา”
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาจบลง พระเจ้าอชาต
ศัตรูทรงปฏิญาณพระองค์เป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัย เป็น
ที่พึ่งตลอดพระชนม์ชีพ ทั้งกราบทูลขอขมาในการที่ปลง
พระชนม์ชีพพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าก็ตรัสรับการขอขมานั้น
๒๐