กิเลสกาม: ความใคร่และกิเลสที่ส่งผลต่อจิตใจ พระแท้ หน้า 129
หน้าที่ 129 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึง 'กาม' หมายถึงความใคร่และความต้องการที่สามารถนำไปสู่ความชั่วในจิตใจ โดยเฉพาะ 'กิเลสกาม' ที่ผลักดันให้คนทำสิ่งที่ผิดเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งประเภทกิเลสกามออกเป็น 10 ประการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คน เช่น ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง, รวมถึงความคิดเห็นผิดและความลังเล ด้วยการเข้าใจเหล่านี้ เราจะได้เรียนรู้วิธีจัดการกับกิเลสเพื่อพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้นได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกาม
-กิเลสกาม
-ประเภทของกิเลสกาม
-ผลกระทบของกิเลสต่อจิตใจ
-การจัดการกับกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“กาม” หมายถึง ความใคร่ ความอยาก หรือสิ่งที่น่าปรารถนา ดังนั้น “กิเลสกาม” จึงหมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในใจ แล้ว ผลักดันให้ ทำสิ่งที่ผิด เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ปรารถนา กิเลสกามแบ่งออกเป็น ๑๐ อย่าง คือ ๑) โลภะ ได้แก่ ความโลภ อยากได้ของผู้อื่นในทางผิด ๒) โทสะ ได้แก่ ความคิดประทุษร้ายผู้อื่น เบียดเบียน รังแกผู้อื่น ๓) โมหะ ได้แก่ ความหลง หรือความไม่รู้ตามความเป็นจริง ๔) มานะ ได้แก่ ความถือตัว สำคัญว่าตัวดีกว่า เหนือ กว่าผู้อื่น ๕) ทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิด ๆ ดื้อดึง เมื่อ “ทิฏฐิ” รวม กับ “มานะ” เป็น “ทิฏฐิมานะ” จึงหมายความว่า “ดื้อรั้นอวดดี หรือดื้อดึงถือตัว” 5) วิจิกิจฉาได้แก่ ความลังเลสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย ๗) ดีนะ ได้แก่ ความหดหู่ ความท้อแท้ถดถอย ๔) อุทธัจจะ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน ขาดความสงบในจิตใจ ๙) อหิริกะ ได้แก่ ความไม่ละอายต่อความชั่วทั้งหลาย ๑๒๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More