หลักการอภิบาลในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 163
หน้าที่ 163 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทเรียนนี้กล่าวถึงการปฏิบัติตนที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งรวมถึงการประพฤติพรหมจรรย์ การพูดความจริง การไม่พูดส่อเสียด การพูดคำไพเราะและเป็นประโยชน์ โดนเฉพาะการส่งเสริมความสนิทสนมในหมู่คณะ นอกจากนี้ ยังเน้นถึงการหลีกเลี่ยงการพรากพืชพรรณในธรรมชาติ ซึ่งมีหลายชนิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ การรักษาความสะอาดทั้งภายนอกและภายในเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตที่ดีและมีความสุข การปฏิบัติตามหลักธรรมจะทำให้เกิดการพัฒนาในทางจิตใจอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-การประพฤติพรหมจรรย์
-ความซื่อสัตย์
-การส่งเสริมความสามัคคี
-การพูดความจริง
-การอนุรักษ์ธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9 สะอาดอยู่เสมอ ๓. ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนธรรม ซึ่งเป็น เรื่องของชาวบ้าน และไม่ทำสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๔. ละเว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง รักษาคำสัตย์ พูดจาเป็นหลักเป็นฐาน เชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก ๕. ไม่พูดส่อเสียดให้หมู่คณะแตกร้าวกัน แต่สมานคนที่ แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้ คนสามัคคีกัน 5. ไม่พูดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไพเราะ ไม่มีโทษ เป็น ที่รักและพอใจของผู้ได้ยิน ๓. ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง เป็นอรรถ เป็นธรรม เป็นวินัย มีหลัก มีที่อ้าง มีที่สุด เป็นคำพูดประกอบ ด้วยประโยชน์ ๔. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม” คือ เว้น พืชคาม คือ พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังจะเป็นได้อีก ภูตคาม คือ พืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ ๑. พืชเกิดจากเหง้า เช่น ขมิ้น ข่า ๒. พืชเกิดจากต้น คือ ผลที่ออกจากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น มะม่วง ทุเรียน ๓. พืชเกิดจากข้อ คือ ใช้ข้อปลูก เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปักก็ขึ้นเป็นต้นได้อีก เช่น ผักบุ้ง ๕. พืชเกิดจากเมล็ด เช่น งา ๑๖๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More