ข้อความต้นฉบับในหน้า
ว่า สงฆ์ที่ต่างฝ่ายกันจะไม่ทำสังฆกรรม” ไม่ทำอุโบสถ" ไม่ทํา
ปวารณา” ร่วมกัน
ตัวอย่างสังฆเภทในสมัยพุทธกาลก็คือ การกระทำของ
พระเทวทัต หลังจากที่ประสบความล้มเหลวเกี่ยวกับการเสนอข้อ
ปฏิบัติ ๕ ประการ ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อแสดงว่าตน
เคร่งครัดกว่า แต่ถูกพระพุทธองค์ปฏิเสธ ครั้นต่อมาเมื่อถึงวัน
อุโบสถ พระเทวทัตก็พยายามชักชวนพระบวชใหม่มาเป็นพวก
แล้วพาภิกษุเหล่านั้นแยกไปทำอุโบสถ ณ ตำบลคยาสีสะ
9
สังฆกรรม คือ กิจที่กระทำโดยที่ประชุมสงฆ์ ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ภายในเขตสีมา(เขตโบสถ์)
เช่น การอุปสมบท เป็นต้น
ต
การทำอุโบสถ คือ การลงฟังพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน ในอุโบสถ
6
การทำปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกัน โดยในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา
คือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเรียกว่า “วันมหาปวารณา” นั้น ภิกษุทุกรูปที่มาประชุม
กันจะกล่าวปวารณา เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน
ข้อปฏิบัติ ๕ ประการ ที่พระเทวทัตทูลเสนอต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ
๑. ให้ภิกษุอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าสู่บ้านมีโทษ
๒. ให้ถือบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ
๓. ให้ถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต รับจีวรที่ชาวบ้านถวายมีโทษ
๔. ให้อยู่โคนไม้ตลอดชีวิต เข้าสู่ที่มุงบังมีโทษ
๕. ห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ถ้าฉันมีโทษ
๓๔๕