การตั้งสติในพระธรรม พระแท้ หน้า 142
หน้าที่ 142 / 371

สรุปเนื้อหา

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติในการเห็นเวทนาในตนเอง เช่น ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ของร่างกาย การตั้งสติในจิตก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยพิจารณาถึงจิตที่ซ้อนกันในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นการตั้งสติในการเห็นธรรมที่ทำให้เกิดร่างกายต่างๆ ตั้งแต่ร่างกายมนุษย์จนถึงร่างธรรม สำหรับอโคจร คือ สถานที่ที่พระภิกษุไม่ควรเข้าชุมชนหรือไปหาสถานที่ เช่น โรงมหรสพและร้านสุรา เพื่อรักษามรรยาทและชื่อเสียงของตน

หัวข้อประเด็น

-เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
-จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
-ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
-อโคจร
-มรรยาทของพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ ทุกข์ของกายต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์นี้ ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติ ตามเห็นจิตในจิต คือ ดวงจิตของกายต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ใน กายมนุษย์ ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติ ตามเห็นธรรมในธรรม คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่าง ๆ ตั้ง แต่กายมนุษย์จนถึงกายธรรม ตรงกันข้ามกับโคจร คือ อโคจร “อโคจร” หมายถึงบุคคลและสถานที่ซึ่งพระภิกษุไม่ควร ไปมาหาสู่ มี 5 อย่าง คือ หญิงแพศยา (โสเภณี) หญิงหม้าย สาวเกื้อ (สาวแก่) ภิกษุณี บัณเฑาะก์ (กะเทย) และร้านสุรา ในสภาพสังคมปัจจุบัน อโคจรนั้นมีอยู่มากมายเกินกว่า 5 อย่างดังกล่าว เช่น โรงมหรสพ สถานเริงรมย์ต่าง ๆ และ ศูนย์การค้าต่าง ๆ เป็นต้น พระภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ โคจร ย่อมไม่ไปสู่ที่อโคจร เพราะละอายใจและกลัวเสียชื่อเสียง ๑๘๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More