การรักษามนินทรีย์และการคุ้มครองทวาร พระแท้ หน้า 181
หน้าที่ 181 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความสำคัญของการรักษามนินทรีย์และการสำรวมจิตใจให้พ้นจากการครอบงำของอภิชฌาและโทมนัส โดยชี้ให้เห็นถึงการคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เช่น การใช้สติในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ปรุงแต่งหรือกำหนดคุณค่า ทำให้สามารถรักษาใจให้พ้นจากทุกข์และเสวยสุขได้ในภายหลัง การไม่ถือสาหรือไม่คิดปรุงแต่งเกี่ยวกับรูปที่เห็นช่วยให้เกิดความสงบและควบคุมความคิดให้มีสติอยู่เสมอ หากสำรวมไม่ได้อาจเกิดอภิชฌาได้

หัวข้อประเด็น

-การรักษามนินทรีย์
-บทบาทของสติ
-ความสำคัญของการสำรวม
-การคุ้มครองทวาร
-อภิชฌากับโทมนัส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ครอบงำา....” คำว่า “รักษามนินทรีย์” หรือ “สำรวมมนินทรีย์” หมาย ถึงการรักษาใจให้พ้นจากการถูกครอบงำโดยอภิชฌาและโทมนัส จะเห็นว่า การสํารวมระวังอินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น แท้ที่จริงแล้ว ก็เพื่อรักษามนินทรีย์ คือ ใจ ให้ปลอดจากทุกข์ ปลอดจากกิเลสภายใน เพื่อเสวยสุขในเบื้องปลายนั่นเอง เมื่อทําความเข้าใจกับคำศัพท์ต่าง ๆ แล้ว ย้อนกลับไปดู พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ก็พอจะอธิบาย ลักษณะของการเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ว่า พระภิกษุในพระธรรมวินัยนั้น เมื่อเห็นรูป ซึ่งอาจ จะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม ก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิด ปรุงแต่งต่อไปอีกว่า สิ่งนี้ คนนี้สวยหรือไม่สวย หรือสวยน้อย สวยมาก ทั้งนี้เพราะไม่ถือนิมิต และไม่ถืออนุพยัญชนะ การ ที่สามารถไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะได้ ก็เพราะมีสติ กำกับใจ มีสติคุ้มครองใจไม่ให้คิดเรื่องไร้สาระ นั่นคือมีสติ สำรวมจักขุนทรีย์ แต่ถ้าสำรวมไม่ได้ คือหยุดความคิดไม่ได้ เกิดชอบใจหรือพอใจรูปที่ตนเห็น ก็จะเกิดอภิชฌา คือ ความ ๑๗๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More