คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีและไม่ควรนับถือ พระแท้ หน้า 271
หน้าที่ 271 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดี โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา (การฝึกกายและวาจา), จิตตสิกขา (การฝึกใจ) และ ปัญญาสิกขา (ความรู้แจ้งจากการฝึกใจ) นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลักษณะของพระภิกษุที่ควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรให้ความเคารพนับถือ เพื่อความเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดี
-การแบ่งระดับตามไตรสิกขา
-ลักษณะของพระภิกษุที่ไม่ควรนับถือ
-ความสำคัญของศีล สมาธิ และปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก็น่าจะเพียงพอแล้ว จะเห็นได้ว่า การแบ่งคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีออก เป็น ๓ ระดับนี้ ได้พิจารณาตามหลักไตรสิกขา กล่าวคือ คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องต้น คือ ศีลสิกขา (ศีล) คือ การฝึกกาย และวาจา คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องกลาง คือ จิตตสิกขา (สมาธิ) คือ การฝึกใจ คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องสูง คือ ปัญญาสิกขา (ปัญญา) คือ ความรู้แจ้งหรือผลที่เกิดขึ้นจากการฝึกใจ ๒. ลักษณะของพระภิกษุที่ไม่ควรนับถือ จากสามัญญผลสูตร ท่านผู้อ่านคงพอจะมีข้อสรุปในใจ ได้แล้วว่า พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนไม่ควร เคารพนับถือทั้งควรหลีกให้ห่างนั้น มีลักษณะอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิจารณาจากปัจจัยแห่งสามัญญผลแล้ว ก็ พอจะประมวลลักษณะของพระภิกษุที่ไม่ควรไว้วางใจ หรือไม่ ควรให้ความเคารพนับถือ ดังนี้ ๒๖๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More