ข้อความต้นฉบับในหน้า
ฌาน ม า ซึ่งแม้จะมีอิทธิฤทธิ์ แต่ก็เสื่อมได้
เมื่อพระเทวทัตได้เห็นมหาชนนำลาภสักการะมากมาย
มาถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอสีติมหาสาวกทั้งหลาย
มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นต้น ส่วนตนเองนั้น
มิได้รับความยกย่องนับถือ และมิได้รับลาภสักการะใด ๆ ดังเช่น
พระที่ออกบวชพร้อมกันจากศากยวงศ์ หรือพระมหาสาวกองค์
อื่น ๆ ซึ่งถือกำาเนิดในตระกูลต่ำกว่าตน แทนที่พระเทวทัตจะมี
โยนิโสมนสิการ พิจารณาแยกแยะหาเหตุผล แล้วคิดพากเพียร
พัฒนาตนเองให้บรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก กลับเอาแต่คิด
อิจฉาริษยาพระมหาสาวกเหล่านั้น รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จนคิดจะปกครองสงฆ์แทนพระพุทธองค์เสียเอง และแม้มิจฉา
ทิฏฐิอย่างแรงกล้านี้จะมีผลให้พลังอิทธิฤทธิ์เสื่อมไปแล้ว แต่
พระเทวทัตก็ยังมิได้สำนึก กลับสร้างกรรมหนักขั้นอนันตริย
กรรมถึง ๒ อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว
ในกรณีของพระเทวทัตนี้ ถ้ามองอย่างผิวเผิน เราอาจ
จะเห็นว่าพระเทวทัตเป็นคนพาล เลวทรามต่ำช้า มีมิจฉาทิฏฐิ
ไม่น่าคบหา สมควรได้รับการประณามและรับโทษทัณฑ์อย่าง
หนัก แต่ถ้าจะพิจารณาโดยแยบคายแล้วจะเห็นว่า พระ
๓๐๕