การสำรวมจักษุในธรรมวินัย พระแท้ หน้า 179
หน้าที่ 179 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการไม่ถืออนุพยัญชนะซึ่งคือการไม่ยึดถือสิ่งเล็กน้อยที่เกิดจากอายตนะภายนอก อาทิ ลักษณะของมือ เท้า หรือการพูด โดยการใช้สติเป็นเครื่องป้องกันความคิดและการปรุงแต่งที่อาจนำไปสู่กิเลส การสำรวมจักษุมีความสำคัญในการศึกษาธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ควรทำด้วยสติ ไม่ใช่การปิดตาแต่เพื่อไม่ให้เกิดการคิดปรุงแต่งซึ่งนำไปสู่กิเลสกาม.

หัวข้อประเด็น

- การสำรวมจักษุ
- อนุพยัญชนะ
- การป้องกันกิเลส
- พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ๆ “ไม่ถืออนุพยัญชนะ” คือ ไม่ถือลักษณะเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นเครื่องประกอบของอายตนะภายนอก เช่น ลักษณะของ มือ เท้า หน้าตา การพูด การหัวเราะ การฉอเลาะ หรือ อากัปกิริยาอื่น ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดกิเลส โดยสรุปก็คือ เมื่อได้ เห็นองค์ประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ของอายตนะภายนอก หยุดอยู่สักแต่ว่าเห็น ไม่เก็บไปคิดนึกปรุงแต่งวิพากษ์วิจารณ์ ต่อไปอีก เพราะจะทำให้กิเลสกามเฟื่องฟูขึ้นในใจ - ະ กยง “สํารวมจักขุนทรีย์” โดยรูปศัพท์ แปลว่า “สำรวมตา” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องปิดตาเพื่อไม่ดูอะไร เพราะ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขณะใดที่ลืมตาย่อมมีสิ่งมากระทบตา เรามากมาย ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ใช้สติ เป็นเครื่องปิดตา ใช้สติเป็นเครื่องสำรวม ใช้สติเป็นเครื่อง คุ้มครองความคิด ในขณะที่เราเห็นหรือดูสิ่งต่าง ๆ โดยเว้น ขาดจากการถือนิมิตและอนุพยัญชนะ ดังที่ตรัสว่า “...ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสํารวมจักขุนทรีย์...” ๑๗๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More