บทบาทของสติและสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 191
หน้าที่ 191 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของสติและสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา โดยชี้ให้เห็นว่าพระภิกษุที่ขาดสติไม่สามารถรักษาอินทรีย์ได้ ส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น และยังส่งผลให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวทางการพัฒนาสติและสันโดษ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าจำเป็นต่อการปฏิบัติในทางธรรม โดยสามารถสร้างความสำเร็จแก่ชีวิตและศีลของพระภิกษุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสติในพระพุทธศาสนา
-ผลกระทบจากการขาดสติ
-บทบาทของสัมปชัญญะ
-การรักษาศีลและสันโดษ
-การพัฒนาจิตใจในพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภิกษุที่ย่อหย่อนในธรรมทั้ง ๒ ประการ คือ สติและ สัมปชัญญะย่อมไม่สามารถสำรวมอินทรีย์ได้ ไม่สามารถมีอาชีพ บริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีลได้ หรือไม่สามารถสำรวมระวังใน เรื่องโคจรและอโคจรได้ ซึ่งนอกจากเป็นทางก่อให้เกิดอภิชฌา และโทมนัสแก่ตัวพระภิกษุเองโดยตรงแล้ว พฤติกรรมของ พระภิกษุที่ปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมทำให้ประชาชนเสื่อม ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีกด้วย ภัยอันเกิดจากการเผลอสตินั้น อาจก่อให้เกิดความเสีย หาย ทั้งต่อชีวิต ต่อทรัพย์สิน ทั้งต่อตัวเอง และต่อบุคคลอื่น ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสยืนยันว่า ภิกษุผู้เป็น สาวกของพระองค์จําเป็นต้องประกอบด้วย “สติสัมปชัญญะ" ๖. เป็นผู้สันโดษ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสติสัมปชัญญะแก่พระ เจ้าอชาตศัตรูจบลงแล้ว จึงทรงแสดงสันโดษต่อไปว่า “มหาบพิตร อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ” ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ทรงวิสัชนาด้วยพระองค์เองว่า ໑໒c
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More