สมาทานศึกษาในสิกขาบท พระแท้ หน้า 145
หน้าที่ 145 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการสมาทานศึกษาในสิกขาบท ซึ่งหมายถึงการรับข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง โดยพระภิกษุจะต้องศึกษาเจตนารมณ์ของแต่ละข้อเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับในสงฆ์ สิกขาบทที่ถูกต้องจะช่วยให้พระภิกษุมีคุณสมบัติในการดำรงชีวิตตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ตั้งไว้ การศึกษานี้มีความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่และการเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มตัว ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทต้องมีความเข้าใจในเนื้อหานี้ดี

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสมาทาน
-การศึกษาศีล
-เจตนารมณ์ของสิกขาบท
-การอุปสมบท
-การปฏิบัติศีลของพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย “สมาทาน” หมายถึง การรับเอาเป็นข้อปฏิบัติ “สิกขา บท” หมายถึงศีลแต่ละข้อ ๆ พระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อ สําเร็จญัตติจตุตถกรรม ในท่ามกลางสงฆ์ ได้รับความยินยอม จากพระภิกษุทั้งปวงในองค์ประชุมสงฆ์ในพิธีอุปสมบท ให้มี ภาวะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมถือว่าได้สมาทาน ศีลสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วทันที ไม่ต้องมี การสมาทานกันอีก ดังนั้น พระภิกษุจึงจําเป็นต้องศึกษาเจตนารมณ์ หรือจุด มุ่งหมายของสิกขาบทแต่ละข้อ ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ไว้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งต้องจำได้ขึ้นใจ เพื่อให้สามารถ ปฏิบัติสิกขาบทแต่ละข้อ ๆ ได้โดยบริบูรณ์บริสุทธิ์ไม่มีผิดพลาด จึงจะได้ชื่อว่า “สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย" พระภิกษุผู้มีการปฏิบัติพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มี ปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย และสมาทานศึกษาอยู่ใน ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ได้แก่ การทำสังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์ คือ ที่ ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่ ๑๔๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More