อาจารย์และเจ้าลัทธิในประวัติศาสตร์ พระแท้ หน้า 52
หน้าที่ 52 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการยกย่องครูปูรณกัสสปโดยราชอำมาตย์ในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู โดยราชอำมาตย์ต่างกราบทูลเกี่ยวกับความมีเกียรติยศและคุณสมบัติของครูหลายท่าน รวมถึงจุดมุ่งหมายในการชักจูงให้พระเจ้าไปพบกับครูปูรณกัสสป ซึ่งเป็นหนึ่งในครูที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในสังคม แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในเจ้าลัทธิที่มีมิจฉาทิฏฐิและประกอบไปด้วยครูหลายท่านที่มีชื่อเสียง

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของอาจารย์ในพุทธศาสนา
-การยกย่องของราชอำมาตย์
-ความศรัทธาต่อเจ้าลัทธิ
-ประวัติของครูปูรณกัสสป
-หน้าที่ของครูในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ครูปูรณกัสสป จึงกราบทูลถึงคุณสมบัติของอาจารย์ของตนว่า “ท่านปูรณกัสสปเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นอาจารย์ที่มีชื่อ เสียงมีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ มหาชนยกย่องว่าดี เป็นคน เก่าแก่บวชมานาน มีอาวุโส ข้าพระองค์เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จไปหาท่านปูรณกัสสปแล้ว พระองค์จะทรง รู้สึกเลื่อมใสศรัทธา” เมื่อได้ฟังราชอำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลจบลงแล้ว พระเจ้า อชาตศัตรูก็ทรงประทับนิ่งเฉยอยู่ เพื่อเปิดโอกาสให้ราชอำมาตย์ อื่น ๆ กราบทูลบ้าง ราชอำมาตย์อื่น ๆ อีก ๕ คน ต่างก็ทยอย กราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูให้เสด็จไปหาเจ้าลัทธิที่ตนเลื่อมใส ศรัทธา โดยเรียงลำาดับจาก ครูมักขลิโคสาล ครูอชิตเกสกัมพล ครูปกุทธกัจจายนะ ครูนิครนถนาฏบุตร และครูสัญชัยเวลัฏฐบุตร การกล่าวยกย่องเทิดทูนอาจารย์ของราชอำมาตย์ แต่ละคน ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อชักจูงโน้มน้าวเจ้าเหนือหัวไปสู่ ครูปูรณกัสสป คือ หนึ่งในครูทั้ง 5 หรือที่มักเรียกว่า ติตถกร ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิอันเป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ๑. ครูปูรณกัสสป ๒. ครูมักขลิโคสาล ๓. ครูอชิตเกสกัมพล ๔. ครูปกุทธกัจจายนะ ๕. ครูนิครนถนาฏบุตร 5. ครูสัญชัยเวลัฏฐบุตร ๕๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More