ประเภทของสมาธิในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 221
หน้าที่ 221 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอประเภทของสมาธิในพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ สมาธิเบื้องต่ำที่เกิดจากการสงบระงับของนิวรณ์ ๕ และสมาธิเบื้องสูงที่นำไปสู่การบรรลุฌานทั้ง ๔ โดยเฉพาะความสำคัญของการทำใจให้เป็นหนึ่ง และการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อมุ่งสู่ความรู้แจ้ง.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสมาธิ
-สมาธิเบื้องต่ำ
-สมาธิเบื้องสูง
-การบรรลฌาน
-พระธรรมเทศนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประเภทของสมาธิ การบรรลุฌานทั้ง ๔ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แก่พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ล้วนเป็นสามัญญผลอันเกิดจากการ เจริญสมาธิภาวนาของพระภิกษุเอง 5 สมาธิในพระพุทธศาสนาอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับ คือ ๑. สมาธิเบื้องต่ำ “สมาธิเบื้องต่ำ” คือ สภาวะที่ใจสงบ ปราศจากอารมณ์ ทั้ง 5 หรืออายตนะภายนอก 5 อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ นิวรณ์ ๕ จึงเริ่มสงบระงับ ใจจึงรวมเป็น หนึ่ง เกิดเป็นดวงสว่าง ๆ ดังที่ปรากฏในพระธรรมเทศนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ยกขึ้นมากล่าวไว้ตอนต้นบทที่ ๗ นี้ว่า “มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง” วิธีทำใจให้เป็นหนึ่งในขั้น ตอนนี้ยังจัดเป็น “สมาธิเบื้องต่ำ” เป็นสมาธิที่ยังไม่ได้ติ่งถึงที่สุด ๒. สมาธิเบื้องสูง “สมาธิเบื้องสูง” คือสภาวะที่ใจสงบเป็นสมาธิดิ่งถึงที่สุด เป็นสมาธิของผู้ปฏิบัติซึ่งบรรลุฌานทั้ง ๔ ตามลำดับดังกล่าวแล้ว ดวงสว่างในขั้นตอนนี้ คือ อุคคหนิมิต หรือ ปฏิภาคนิมิต ๒๑๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More