การสารภาพความผิดในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 316
หน้าที่ 316 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพบว่าการสารภาพความผิดในพระพุทธศาสนาเป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันในหมู่พระอริยะบุคคล การทรงสารภาพดังกล่าวไม่ใช่การไถ่บาป แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบและสำนึกผิด เพื่อให้สามารถปรับปรุงตัวเองและดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง การดำเนินตามวัฒนธรรมนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธทุกคนเพื่อเสริมสร้างความเป็นอริยะในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-การสารภาพความผิด
-วัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา
-การยอมรับความผิด
-คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-คุณค่าของการสารภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มหาบพิตรได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดาผู้ดำรง ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะปรารถนา ความเป็นใหญ่ แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็น ความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพ ตามเป็นจริง ฉะนั้น ตถาคตขอรับทราบความ ผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคลเห็นความผิด โดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็น จริง รับสังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัย ของพระอริยะแล” จากบทสนทนาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเจ้า อชาตศัตรูที่ยกมานี้ ย่อมให้แง่คิดแก่เราทั้งหลายว่า การสารภาพ ความผิดเป็นวัฒนธรรม หรือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเป็น ประจำในหมู่พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และมิใช่เป็น เรื่องของการไถ่บาปแต่ประการใด ในเมื่อการสารภาพความ ผิดเป็นวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่าง ยิ่งที่พวกเราชาวพุทธทั้งหลายจะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติด้วย ทั้งนี้เพราะ สามัญญผลสูตร ที. ส. ๙/๑๓๙/๑๑๒-๓ ๓๑๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More