การประกอบอาชีพตามแนวพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 335
หน้าที่ 335 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการประกอบอาชีพที่ไม่ขัดต่อหลักพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในหมู่ภิกษุ ผู้ซึ่งควรประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลและจิตบริสุทธิ์ เพื่อให้สามารถบรรลุวิชชา ๘ และหลุดพ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต พุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมเกี่ยวกับการทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งประกอบด้วยการรักษาศีล การระมัดระวังอินทรีย์ การมีสติสัมปชัญญะ และการมีสันโดษ เมื่อลงมือทำสมาธิอย่างแท้จริงจะสามารถข้ามผ่านนิวรณ์ไปสู่ฌานและวิชชาได้ ในขณะที่การประกอบอาชีพที่ขัดแย้งกับศีลอาจทำให้ภิกษุไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการบวชได้ ในการนี้จึงควรใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับหลักธรรมเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-สมาธิ
-วิชชา ๘
-หลักธรรมพระพุทธศาสนา
-การบรรลุสามัญญผล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประกอบอาชีพติรัจฉานวิชา ด้วยการดูโชค ดูเคราะห์ ให้ฤกษ์ วิวาหมงคล ใบ้หวย ทำการผ่าตัด รักษาโรค ฯลฯ เหล่านี้ หาก กระทําเป็นครั้งคราวเพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่ญาติโยม ก็คง จะไม่เสียหายอะไรนัก แต่ถ้าทาเป็นประจำ ย่อมถือได้ว่าภิกษุ นั้นไม่ทําหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของพระพุทธศาสนา จึงยากที่ จะบรรลุสามัญญผลตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ในสามัญญผลสูตรนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรง แสดงไว้ชัดแจ้ง ถึงลำดับแห่งการทำจิตให้บริสุทธิ์ พร้อมทั้ง การเกิดผลแต่ละขั้นที่เนื่องมาจากการประกอบเหตุ โดยเริ่มจาก การรักษาศีลให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ การสำรวมระวังอินทรีย์ การมี สติสัมปชัญญะและสันโดษ เมื่อสามารถปฏิบัติคุณธรรมเหล่านี้ ได้บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แล้วลงมือทำสมาธิ ย่อมละ นิวรณ์ได้ เมื่อละนิวรณ์ได้แล้ว จิตย่อมเป็นสมาธิมั่นยิ่งขึ้น ย่อม สามารถบรรลุฌานไปตามลำดับ จากปฐมฌานถึงจตุตถฌาน เมื่อจิตเป็นสมาธิมั่นยิ่งขึ้น ย่อมบรรลุวิชชา ๘ และความหลุด พ้นในที่สุด ถ้าพระภิกษุไม่สามารถรักษาศีลให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ แล้ว จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการบวชได้อย่างไร? ๓๓๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More