การเจริญสมาธิและญาณในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 253
หน้าที่ 253 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจเกี่ยวกับอิทธิวิธีต่างๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนในการปฏิบัติเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ซึ่งรวมถึงการตั้งจิตที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นหัวใจของการเจริญภาวนาและการบรรลุญาณสูงขึ้นตามลำดับ โดยการปฏิบัตินี้จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณและการบรรลุธรรมกายโคตรภู ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการเข้าถึงธรรมกายของพระอริยบุคคลระดับต้น.

หัวข้อประเด็น

-อิทธิวิธี
-ทิพพโสต
-เจโตปริยญาณ
-ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
-ทิพพจักขุ
-อาสวักขยญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓. อิทธิวิธี ๔. ทิพพโสต หรือ หูทิพย์ ๕. เจโตปริยญาณ 5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๗. ทิพพจักขุ หรือ ตาทิพย์ หรือ จุตูปปาตญาณ ๔. อาสวักขยญาณ จากพระพุทธดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับ วิชชา ๘ นี้ จะเห็นว่าหลักสำคัญในการปฏิบัติเพื่อบรรลุญาณ ระดับต่าง ๆ ก็คือ “จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว” ๆ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นบทนี้แล้วว่า การอบรมใจให้เป็น สมาธิแน่วแน่นั้น จะต้องวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่ง เป็นที่ตั้งถาวรของใจ ดังนั้น “จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว” จึงหมายถึงการตั้งจิตมั่นไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เมื่อผู้ เจริญภาวนาสามารถตั้งจิตมั่นไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างแท้จริง จนสามารถบรรลุ “วิปัสสนาญาณ” ได้แล้ว หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “บรรลุธรรมกายโคตรภู” ซึ่งจะเป็น บาทฐานไปสู่ธรรมกายพระอริยบุคคลระดับต้น ครั้นเมื่อสมาธิ ก้าวหน้ามากขึ้น บรรลุญาณสูงขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ธรรมกาย ๒๕๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More