ความหมายและพฤติกรรมของพระภิกษุในธรรม พระแท้ หน้า 150
หน้าที่ 150 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงวิธีการที่พระภิกษุจะสื่อสารและประพฤติตนในการน้อมนำสักการะจากทายก โดยมีการพูดจาประจบและเลียบเคียงเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากทายก การยกตัวอย่างจากพระอรรถกถาจารย์แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่พระภิกษุใช้ในการเข้าหาทายก เช่น การรีบถามเรื่องการนิมนต์ การประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของตน และการแสดงออกเพื่อสร้างความรักใคร่จากทานบดี เช่น การเข้าไปดูแลเด็ก การประพฤติถ่อมตัว และการพูดจาที่สร้างความประทับใจ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของลปนา
-การสื่อสารของพระภิกษุ
-พฤติกรรมในการน้อมนำสักการะ
-การสร้างสัมพันธภาพกับทายก
-ปรัชญาในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จึงพากันน้อมนำสักการะมาถวายมากมาย ๒) ลปนา หมายถึง พูดพิรี้พิไร ได้แก่ การพูดประจบ เลียบเคียงต่าง ๆ นานา โดยมีเจตนาจะได้ปัจจัยไทยธรรมจาก ทายก พระอรรถกถาจารย์ได้ยกอุทาหรณ์ไว้หลายอย่าง เป็นต้นว่า เมื่อพระภิกษุเห็นทายกเข้ามาสู่วิหาร ก็รีบชิงทักถามขึ้นก่อนว่า ทายกต้องการนิมนต์ภิกษุหรือ ถ้ามีความประสงค์เช่นนั้น อาตมา ก็จะเป็นธุระพาภิกษุตามไปทีหลัง อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีทายกมาสู่วิหาร แล้วสนทนา ซักถามด้วยเรื่องต่าง ๆ พระภิกษุก็พยายามประชาสัมพันธ์ชื่อ เสียงของตนเองว่า มีพระราชาหรือข้าราชบริพารระดับสูง ชื่อ นั้นชื่อนี้มีความเลื่อมใสตน หรือพูดยกตนเองว่า มีสกุลใดสกุล หนึ่งที่มีอันจะกิน คอยถวายลาภสักการะให้ตนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เคยถวายลาภสักการะพระภิกษุรูปอื่นเลย พระภิกษุบางรูปก็พยายามทำตนให้เป็นที่รักของเหล่า ทานบดี โดยการประพฤติถ่อมตัวทั้งทางกาย และทางวาจา หรือบางรูปก็อาจจะแสดงการประจบทานบดี โดยการเข้าไป อุ้มทารก ซึ่งเป็นบุตรหลานของทานบดีบ้าง ให้ทารกขี่คอเล่น บ้าง ทําประหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงหรือแม่ของทารกนั้น ๑๔๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More