ความสันโดษในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 200
หน้าที่ 200 / 371

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา ความสันโดษคือการมีความพอเพียงและมีความสุขในสิ่งที่ตนมี ภิกษุที่มีบริขาร ๔ คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร ถือเป็นผู้สันโดษ ในขณะที่บริขาร ๘ จะมีการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งเป็นเครื่องบริหารกายและท้อง ตัวอย่างเช่น จีวรสามารถใช้นุ่งห่มหรือใช้เป็นกรองน้ำได้ บาตรสามารถใชในการตักน้ำหรือบิณฑบาต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของความสันโดษที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตสมัยพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความสันโดษ
-บริขาร ๘
-การตั้งใจในวิถีชีวิต
-เครื่องมือในการดำรงชีวิต
-การใช้ชีวิตตามหลักพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความสบายแก่ตน ก็ยินดีต่อสิ่งนั้น สิ่งใดสมควรแก่ตน ก็ยินดี ต่อสิ่งนั้น อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า ภิกษุผู้มีบริขาร ๔ เท่านั้น เป็นผู้สันโดษ ส่วนพระภิกษุที่มี บริขารมากกว่านี้ ไม่ถือว่าสันโดษ บริขารทั้ง ๘ อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน หรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว และกระบอกกรองน้ำนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องบริหารกายก็ได้ เป็นเครื่องบริหารท้องก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น จีวร ถ้าภิกษุใช้นุ่งห่ม จีวรก็ได้ชื่อว่าเป็น เครื่องบริหารกาย แต่ถ้าใช้จีวรกรองน้ำ จีวรก็ได้ชื่อว่าเป็น เครื่องบริหารท้อง ส่วนบาตรนั้น ถ้าใช้ตักน้ำสรง และประพรมกุฏิ ย่อมเป็น เครื่องบริหารกาย ถ้าใช้บิณฑบาต ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้อง สำหรับมีดโกน ถ้าใช้ปลงผมหรือตัดเล็บ ย่อมเป็นเครื่อง บริหารกาย แต่ถ้าใช้ปอกผลไม้สำหรับฉัน ย่อมเป็นเครื่องบริหาร ทอง แม้เข็มถ้าใช้เย็บจีวร ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ถ้า ๑๙๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More