การเข้าฌานและระดับฌานในพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 224
หน้าที่ 224 / 371

สรุปเนื้อหา

การเข้าฌานนั้นเริ่มต้นเมื่อจิตเข้าสู่ภาวะสงบจนเกิดการสงบของใจและความสุข ความรู้สึกปีติเกิดขึ้นเมื่อพิจารณาตรวจตรารอบกายมนุษย์ละเอียดจนเข้าสู่ภาวะเอกัคคตา การเข้าสู่ปฐมฌานทำให้กายมนุษย์ละเอียดมีความสุขสบายใจ และเมื่อรู้สึกว่าปฐมฌานนั้นยังไม่พอ จึงมีพัฒนาการเข้าสู่ทุติยฌาน ซึ่งเป็นการขยายจากปฐมฌานไปสู่ความละเอียดสูงขึ้นในประเภทกายทิพย์ ความรู้สึกเหล่านี้สะท้อนถึงการบรรลุที่ละเอียดขึ้นในสมาธิและวิถีทางปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานในพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การเข้าฌาน
-สมาธิ
-ปีติ
-ปฐมฌาน
-ทุติยฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จึงเข้าฌาน เมื่อเข้าฌานแล้วจะไปไหนก็คล่องแคล่วจึงเกิด “วิตก” (คิด) ขึ้นว่า นี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบ เห็นมาก่อน จึงตรึกดู (ปักจิตลงสู่อารมณ์ฌาน) ครั้นแล้ว “วิจาร” ก็เกิดขึ้นเต็มวิตก คือพิจารณาตรวจตราดูรอบกาย มนุษย์ละเอียด ตรวจตราดูทั่วแล้วก็เกิด “ปีติ” ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อเบิกบานสําราญใจเต็มส่วนของปีติแล้ว ก็มีความสุขกาย สบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉย เกิดแต่วิเวก ใจวิเวก นิ่งอยู่กลางดวงนั้น เต็มส่วนขององค์ฌาน เป็น “เอกัคคตา” สภาวะที่กายมนุษย์ละเอียด เข้าฌานอยู่กลางดวงฌาน นี้คือสมาธิในทางปฏิบัติ เป็นสมาธิเบื้องสูงในระดับ “ปฐมฌาน” ครั้นแล้วกายมนุษย์ละเอียดก็คิดว่า “ปฐมฌาน” นี้ยัง ใกล้ของหยาบนัก จึงคิดทำให้สูงขึ้นไปอีก ใจของกายมนุษย์ ละเอียดจึงขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด หยุด นิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด หยุดนิ่งใสนิ่ง หนักเข้า ๆ พอถูกส่วน ก็มีดวงผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่ง ขนาดเท่า ดวงแรก ดวงนี้คือ “ทุติยฌาน” ปรากฏมีกายทิพย์เกิดขึ้น ด้วย อาศัยกายทิพย์หยาบนี้ กายทิพย์ละเอียดซึ่งซ้อนอยู่ในกาย ทิพย์หยาบก็เข้าฌาน แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียดใน ๒๒๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More