การสารภาพผิดและการพัฒนาจิตใจ พระแท้ หน้า 321
หน้าที่ 321 / 371

สรุปเนื้อหา

ความผิด ความชั่วของตนเองจะทำให้เกิดความรู้สึกละอายใจ แต่การสารภาพผิดเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาความรู้สึกละอายและกลัวบาป การฝึกนิสัยนี้จะช่วยให้จิตใจสงบ เมื่อเด็กสารภาพ ผู้ใหญ่ควรรับฟังด้วยจิตเมตตา ไม่ควรรีบร้อนตำหนิติเตียน และควรถามถึงสาเหตุของการทำผิด การฟังอย่างอดทนจะช่วยให้เด็กเข้าใจความผิดของตนเองและปรับปรุงตัว

หัวข้อประเด็น

-การสารภาพผิด
-ความละอาย
-การฟังอย่างมีเมตตา
-การพัฒนาตนเอง
-การให้คำแนะนำแก่เด็ก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความผิด ความชั่วของตนเองอยู่ร่ำไป จะต้องรู้สึกละอายใจครั้ง แล้วครั้งเล่าในขณะที่ต้องสารภาพผิด ครั้นทำผิดแล้ว หากจะ ปิดไว้เป็นความลับ ตนเองก็จะกระวนกระวายใจหาความสงบ ในจิตใจไม่ได้ ดังนั้น การฝึกนิสัยสารภาพผิด จึงเป็นหนทางนําไปสู่ การพัฒนาหิริโอตตัปปะ คือความละอายและกลัวบาปขึ้น ในจิตใจ ทำให้เกิดความคิดคล้อยตามพุทธภาษิตว่า “ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง” ในขณะเดียวกัน ผู้ใหญ่ที่รับฟังเด็กสารภาพผิด ก็จะต้อง รับฟังด้วยจิตเมตตา ให้ความสนใจ ใส่ใจที่จะฟังทุกถ้อยคําที่ สารภาพออกมา ไม่รีบตำหนิติเตียน หรือลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยอารมณ์โกรธ พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา ฟังคำสารภาพ ด้วยความอดทนจนจบ เพราะถึงผู้ใหญ่จะกริ้วโกรธปานใด เด็ก ก็ได้ทำผิดไปแล้ว แก้คืนไม่ได้ เมื่อเด็กสารภาพจบ แทนที่ผู้ใหญ่จะว่ากล่าวสั่งสอนทันที ควรจะถามถึงมูลเหตุ ที่ทำให้เขาคิดผิด ทำผิดเช่นนั้นเสียก่อน ตายนสูตร สํ. ส. ๑๕/๒๓๙/๖๘ ๓๑๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More