คุณธรรมและการบวชในวัฒนธรรมไทย พระแท้ หน้า 323
หน้าที่ 323 / 371

สรุปเนื้อหา

ในวัฒนธรรมไทย คุณธรรมถูกมองว่าสำคัญกว่าวิชาชีพ โดยเฉพาะการปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก ชายหนุ่มเมื่ออายุครบ 20 ปีจะต้องอุปสมบทเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนคุณธรรม ก่อนที่จะมีครอบครัวหรือทำงาน บทบาทนี้ถูกสืบทอดมายาวนาน โดยผู้ที่บวชจะได้รับการนับถือในสังคมว่าเป็น 'คนสุก' ในขณะที่คนที่ยังไม่บวชจะถูกมองว่าเป็น 'คนดิบ' และต้องใช้เวลาในการพัฒนาตนเอง.

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของคุณธรรม
- การบวชในวัฒนธรรมไทย
- การศึกษาจากพระภิกษุ
- เปรียบเทียบคุณค่าผลไม้และมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นั้นต้องออกมาแสวงหากันเองในภายหลัง ทั้งนี้ย่อมแสดงให้เห็น ว่าบรรพบุรุษของเรานั้น ท่านถือว่า “เรื่องของคุณธรรมสำคัญ กว่าวิชาชีพ” จึงต้องรีบปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเยาว์ นอกจากนี้ บรรดาชายหนุ่มเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ แล้ว ก็จะต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุอย่างน้อยหนึ่งพรรษา เป็นประเพณีสืบทอดกันมานานแสนนาน เพื่อเรียนรู้คุณธรรม กันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเริ่มทำมาหาเลี้ยงชีพหรือมีครอบครัว ชายใดที่บวชเรียนแล้วก็จะได้รับการยกย่องนับถือจากสังคม ดังมีสำนวนชาวบ้าน เรียกผู้บวชเรียนแล้วว่า “คนสุก” ส่วนชาย ที่ยังไม่ได้บวชก็ถือว่ายังเป็น “คนดิบ” อยู่ ศัพท์สองคำนี้คงจะ ใช้เทียบกับผลไม้หรืออาหารนั่นเอง ผลไม้หรืออาหารใด ๆ ที่ “สุก” แล้ว ย่อมมีคุณค่าควรแก่การบริโภค ส่วนที่ยัง “ดิบ” นั้นยังด้อยคุณค่า ต้องรอเวลาพัฒนาต่อไป โดยที่บรรดาชายหนุ่มในสมัยโบราณ ได้รับการศึกษา เล่าเรียนและการสั่งสอนอบรมจากพระภิกษุสงฆ์มาแต่เยาว์วัย ครั้นเมื่อบรรลุนิติภาวะก็ยังได้โอกาสอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีก ระยะหนึ่ง บางท่านก็บวชอยู่หลายปีจึงลาสิกขา การฝึกอบรม เหล่านี้ คือช่วงเวลาแห่งการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ และโยนิโส ๓๒๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More