ข้อความต้นฉบับในหน้า
สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ คำว่า “บรรพชา”
คำว่า “บรรพชา” โดยรากศัพท์เดิมแปลว่า เว้นความ
ชั่วทุกอย่าง หรือการทำให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ แต่เดิมที
เดียวคำว่า “บรรพชา” หมายความว่า บวช เช่น สิทธัตถราช
กุมารเสด็จออกบรรพชา เป็นต้น แต่ในปัจจุบันคำว่า “บรรพชา”
หมายถึงบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุใช้คําว่า “อุปสมบท”
และมักจะใช้ควบกันว่า “บรรพชาอุปสมบท” หรือโดยทั่วไปมัก
นิยมพูดกันว่า “บวช” เมื่อบวชแล้วก็ได้ชื่อว่า “บรรพชิต” บรรพชิต
ทั้งหลายที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อเว้นความชั่วทุก
อย่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความ
เป็นผู้ประเสริฐ ด้วยการสร้างบุญกุศลทั้งปวงให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บรรพชาเป็นทาง
ปลอดโปร่ง” นั้นหมายความว่า บรรพชิตหรือพระภิกษุย่อมมี
โอกาสประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ง่าย เมื่อเทียบ
กับฆราวาสหรือผู้ครองเรือน ทั้งนี้เพราะโดยพระวินัยแล้ว การ
เลี้ยงชีพของพระภิกษุต้องขึ้นอยู่กับฆราวาส ดังนั้น พระภิกษุ
จึงไม่ต้องกังวลด้วยเรื่องการทำมาหากินแบบฆราวาส ทำให้
สามารถทุ่มเทเวลาและชีวิตเพื่อการศึกษา และปฏิบัติตามพระ
๑๓๑