การบริโภคอย่างมีสติในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 159
หน้าที่ 159 / 371

สรุปเนื้อหา

ในสถาบันพระพุทธศาสนา สอนให้บริโภคอาหารเพื่อยังชีวิตและศึกษาไตรสิกขา เพื่อความหลุดพ้นและเริ่มต้นใหม่ เช่นการบริโภคที่เกินพอเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ทำให้เกิดความกระสันและความเกียจคร้าน การบริโภคอย่างมีสติจึงมีความสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันด้วยเมตตากรุณาและสันติสุข

หัวข้อประเด็น

-การบริโภคตามหลักพระพุทธศาสนา
-โทษของการบริโภคมากเกินไป
-ความสำคัญของการบริโภคพอประมาณ
-บทบาทของพระภิกษุในการสืบทอดศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อตรัสสอนในเชิงให้ละและป้องกันกิเลสแล้ว พระ สัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงสอนถึงวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องในการ บริโภค กล่าวคือ ให้พิจารณาว่าพระภิกษุบริโภคอาหาร ก็เพื่อ ยังชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ต่อไป และเพื่อระงับความหิว แล้วอาศัย กำลังกาย อันเกิดจากการบริโภคนั้น ศึกษาไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยบริบูรณ์บริสุทธิ์ เพื่อ ความหลุดพ้นของตนเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถทำหน้าที่ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งที่ ระลึกของสัตว์โลกทั้งหลาย ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน ด้วยความเมตตากรุณาและสันติสุข ส่วนการบริโภคที่เป็นโทษ นอกจากจะหมายถึงการ บริโภคอาหารที่ได้มาจากการแสวงหาโดยอาชีพไม่บริสุทธิ์ดังได้ กล่าวไว้แล้ว ยังหมายรวมถึงการบริโภคสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ คือ ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามหลักโภชนาการ และการบริโภค มากเกินพอ ซึ่งมีโทษมากมาย เช่น ทำให้เกิดความกระสัน ความ อืดอาด ความง่วงเหงาหาวนอน อันเป็นเหตุแห่งความเกียจ คร้าน เป็นต้น ส่วนการบริโภคพอประมาณนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๕๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More