ความสันโดษในธรรมวินัย พระแท้ หน้า 192
หน้าที่ 192 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับมหาบพิตรภิกษุ ที่มีความสันโดษด้วยจีวรและบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารกายและท้อง ในการใช้ชีวิตตามธรรมวินัย การมีความสุขและความพอใจในปัจจัย ๔ ทั้งผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยา เน้นการมีความเพียรพยายามตามธรรมที่ไม่โลภหรือริษยาใคร สองธรรมสำคัญคือ สันโดษและอัปปิจฉา ที่ช่วยให้ผู้คนเลือกวิถีชีวิตที่ดีและมีความสุข

หัวข้อประเด็น

-ความสันโดษ
-ธรรมวินัย
-การใช้ชีวิตตามหลักธรรม
-อัปปิจฉา
-ปัจจัย ๔

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง ทิสาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง มหาบพิตร นกมี ปีกจะบินไปทางทิสาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัว เป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทิสา ภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล” “สันโดษ” คือ ความยินดีในของของตน พอใจด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยา ตามมีตามได้ การ มีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ ด้วยความ เพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร มีธรรมอยู่ ๒ ข้อ คือ “สันโดษ” (ความยินดีในของของ ตน) กับ “อัปปิจฉา” (ความมักน้อย) ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจ สามัญญผลสูตร ที. ส. ๙/๑๒๕/๙๔ ๑๙๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น