สมาธิในทางปฏิบัติ พระแท้ หน้า 222
หน้าที่ 222 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับการทำสมาธิทั้ง ๒ ระดับจากคำพูดของหลวงพ่อวัดปากนํ้า ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสละอารมณ์เพื่อให้จิตสงบและหลุดจากการตรึงในอารมณ์ต่าง ๆ หากเราไม่สามารถสละอารมณ์ได้ จะทำให้จิตไม่สงบจนไม่สามารถทำสมาธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเปรียบเทียบการสละอารมณ์ที่คล้ายกับการแยกไข่ขาวและไข่แดง ซึ่งจะช่วยให้จิตสามารถมองเห็นดวงธรรมที่อยู่ภายในอย่างชัดเจนได้เมื่ออารมณ์ได้ถูกปล่อยออกไป

หัวข้อประเด็น

-สมาธิระดับต่ำ
-การสละอารมณ์
-การทำสมาธิ
-ความสำคัญของอารมณ์
-เปรียบเทียบไข่ขาวและไข่แดง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมาธิในทางปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจการทำสมาธิทั้ง ๒ ระดับดังกล่าวได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จึงขอน้อมนำคำอธิบายในเชิงปฏิบัติของพระเดช พระคุณหลวงพ่อวัดปากนํ้า ภาษีเจริญ มาขยายความไว้ในที่นี้ “สมาธิเบื้องต่ำในทางปฏิบัติ” หมายถึงการสละอารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต ตัวอย่างเช่น เวลานอน หากมีอารมณ์อย่างใดอย่าง หนึ่งใน 5 อย่าง (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์) ติด อยู่กับจิตจนเปลื้องไม่ออก หรือที่เรียกว่า “สละอารมณ์ไม่ได้” เราก็จะนอนไม่หลับทั้งคืน เพราะถูกอารมณ์บังคับไว้ ต้องสละ อารมณ์ออกจากใจให้ได้ จึงจะนอนหลับได้ การทําสมาธิก็เช่นเดียวกัน หากจิตติดอยู่กับอารมณ์ ใจ ย่อมนึกคิดซัดส่ายไปตามอารมณ์นั้น ๆ ต่อเมื่อใดที่สละอารมณ์ ได้ จิตหลุดจากอารมณ์โดยเด็ดขาดไม่เกี่ยวข้องกัน เหมือนไข่ ขาว กับไข่แดงที่แม้จะอยู่รวมกันในไข่ฟองเดียว แต่ก็แยกจาก กัน ไม่ปะปนกัน เพราะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มไข่แดงไว้ เมื่อสละอารมณ์ ได้เช่นนั้น ใจจึงจะหยุดนิ่งแน่วแน่ และมองเห็นดวงธรรมที่อยู่ ภายใน ๒๒๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More