วิธีการชักชวนให้ทายกถวายลาภสักการะ พระแท้ หน้า 152
หน้าที่ 152 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการชักชวนทายกให้ถวายลาภสักการะโดยใช้วิธีการพูดและการกระทำต่าง ๆ เช่น เนมิตติกตา ที่พระภิกษุใช้พูดเป็นนัยเพื่อให้ทายกรู้ว่าเขาต้องการอะไร และนิปเปสิกตา ที่ใช้การพูดเพื่อบีบบังคับหรือให้ทายกเกิดความรู้สึกไม่พอใจเพื่อให้เกิดการถวายสิ่งของ การใช้เทคนิคเหล่านี้แสดงถึงความเข้าใจในจิตใจของทายกและการสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนเพื่อการสนับสนุน.

หัวข้อประเด็น

-วิธีการชักชวน
-บทบาทของพระภิกษุ
-จิตวิทยาในการบริจาค
-การสร้างศรัทธา
-การสื่อสารในชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นี้มีอยู่เหมือน ๆ กัน คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ ๓) เนมิตติกตา หมายถึง พูดหว่านล้อม ได้แก่การกระทำ หรือการพูดอ้อมค้อม เพื่อล่อใจให้ทายกถวายของ เพราะจะขอ กันตรง ๆ ก็รู้สึกเก้อเขิน และเป็นอาบัติ พระภิกษุจึงแสดงนิมิต คือ พฤติกรรมให้ทายกรู้ ด้วยการพูดเป็นนัยว่าตนต้องการอะไร หรืออยากฉันอะไร แม้ทายกจะรู้เท่าทัน แกล้งปฏิเสธหรือหลบ หน้าไปเสีย พระภิกษุก็ยังไม่สิ้นความพยายาม ในที่สุดทายกอด รนทนไม่ได้ ก็จ่าใจถวายสิ่งของนั้น ๆ ให้ ๆ ๔) นิปเปสิกตา หมายถึง พูดท้าทายถากถางให้เจ็บใจ หรือพูดเป็นเชิงบีบบังคับ เป็นคำพูดที่ฉลาดของพระภิกษุ เพื่อ ปรามาสหรือหมิ่นน้ำใจทายก โดยมีเจตนาให้ทายกถวายลาภ สักการะแก่ตน เช่น กล่าวว่าสกุลนี้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อม ใสในการทำทาน ทายกทนฟังไม่ได้ก็ถวายสิ่งของให้โดยไม่เต็มใจ หรือเมื่อไปบ้านหนึ่งก็พูดจาไพเราะกับเขา ครั้นไปอีกบ้านหนึ่งก็ เอาไปนินทาให้คนในบ้านใหม่ฟัง พร้อมทั้งพูดจายกย่องผู้ที่ กำลังฟังอยู่ด้วย แม้ผู้ฟังจะรู้สึกไม่พอใจ ก็จำต้องถวายลาภ สักการะให้ เพราะไม่อยากถูกนินทาหรือเพราะรำคาญก็เป็นได้ ๑๕๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More