เกณฑ์วัดความดีและหน้าที่ของคน พระแท้ หน้า 334
หน้าที่ 334 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการวัดความดีของบุคคลตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ รวมถึงการให้ผู้เรียนทราบถึงความสำคัญของการศึกษาและบทบาทในการต่อสู้เพื่ออธิปไตย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสิ่งที่พระภิกษุควรทำตามหลักพระพุทธศาสนา โดยยกตัวอย่างและความสำคัญของการทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์หากทำผิดวัตถุประสงค์แม้จะได้ประโยชน์ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-เกณฑ์การวัดความดี
-หน้าที่ของนักเรียน
-หลักการในพระพุทธศาสนา
-บทบาทสังคมของนักศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้นจึงมีคำถามว่า “เราจะมีเกณฑ์อย่างไรสำหรับวัด ว่า ใครเป็นคนดีหรือไม่ดี?” คำตอบก็คือ “คนดีจะต้องทำหน้าที่ของตนตาม วัตถุประสงค์” นี่คือเกณฑ์วัดคุณภาพของคน ถ้าทำผิดวัตถุประสงค์ แม้ได้ประโยชน์ก็ไม่ถูกต้อง เช่น นักเรียนนักศึกษามีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ไม่ใช่ไปเดิน ขบวนต่อต้านคัดค้านกรณีต่าง ๆ ทางการเมือง แต่ในยาม คับขันที่นักศึกษาจำเป็นต้องเข้าร่วมแสดงบทบาท เพื่อพิทักษ์ อธิปไตยสูงสุดของชาติบ้านเมืองไว้ ก็ย่อมทำได้ แต่เมื่อเสร็จ แล้วจะต้องรีบกลับเข้าห้องเรียน หรือการที่นักศึกษาออกไป แต่ ทำงานสังคมสงเคราะห์ในบางครั้งบางคราวก็ย่อมทำได้ ถ้าทำเป็นประจำจนไม่เป็นอันศึกษาเล่าเรียน ย่อมถือว่าทำผิด วัตถุประสงค์ จัดว่าเป็นนักศึกษาที่ดีไม่ได้ คราวนี้ ลองหันมาพิจารณาพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ดูบ้าง พระพุทธศาสนานั้นมีหลักฝึกตนอยู่ ๓ ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าภิกษุรูปใดไม่ทําหน้าที่ตามหลักดังกล่าว ย่อมได้ชื่อ ว่าไม่ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น พระภิกษุที่มุ่ง ๓๓๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More