อาจาระและการโคจรในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 139
หน้าที่ 139 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอาจาระที่ดีและไม่ดีของพระภิกษุ โดยอธิบายถึงพฤติกรรมที่สมควรและไม่สมควร เช่น ความสำรวมกิริยาและการมีสายตามุ่งมั่น พร้อมกับการอธิบายว่าโคจรนั้นเป็นสถานที่หรือบุคคลที่ควรไปมาหาสู่ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามลักษณะสำหรับการเรียนรู้และการประพฤติพรหมจรรย์อย่างเหมาะสมในการดำเนินชีวิตทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีประโยชน์สำหรับการศึกษาและการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-อาจาระที่ดี
-อาจาระที่ไม่ดี
-โคจรในพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของการมีความสำรวม
-การประพฤติพรหมจรรย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9 ก็ลูบคล่าศีรษะ เมื่อพบหญิงก็เข้าไปสนทนาซักถามถึงเรื่อง ภัตตาหารว่า เธอจะจัดถวายสิ่งใดให้บ้าง ความประพฤติดัง กล่าวแล้วนี้ล้วนเป็นตัวอย่างของอาจาระที่ไม่ดีทั้งสิ้น ในทางกลับกัน พระภิกษุที่มีความเคารพอ่อนน้อมต่อ พระเถระ นุ่งห่มสละสลวย เรียบร้อย สำรวมระวังกิริยาใน ขณะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา มีอิริยาบถเสงี่ยมงาม มีสายตา ทอดลงต่ำ ไม่เหลียวซ้ายแลขวาหรือแสดงอาการหลุกหลิกลุกลี้ ลุกลน มีความปรารถนาน้อย มีความหนักแน่น อดทน จะ กล่าววาจาใดก็เปี่ยมไปด้วยความสำรวม และเมตตาธรรม เหล่านี้ คือตัวอย่างของอาจาระที่ดี อีกค่าหนึ่งก็คือ “โคจร” ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือสถานที่ ซึ่งพระภิกษุควรไปมาหาสู่ หรือสิ่งที่พระภิกษุควรเข้าไปเกี่ยวข้อง พระภิกษุที่ตั้งอยู่ในโคจรย่อมไปมาหาสู่เฉพาะที่ที่ควรไปเท่านั้น เช่น สถานที่ หรือบุคคลที่อำนวยประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าหรือการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุโดยตรง โคจรแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่ พระวิสุทธิมัคค์ เผด็จ เล่ม ๑ หน้า ๕๒ ๑๓๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More