การวิเคราะห์เกี่ยวกับพระเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรู พระแท้ หน้า 308
หน้าที่ 308 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ถึงความเป็นมาของพระเทวทัตซึ่งแม้มีสถานะดีแต่ขาดการอบรมปลูกฝังทางจิตใจ ส่งผลให้เป็นผู้ที่คิดชั่วและพูดชั่ว แม้มีโอกาสพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสำหรับพระเทวทัตแล้ว ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิได้ ขณะที่พระเจ้าอชาตศัตรูก็ได้รับการอบรมที่ดี แต่ผลจากการคบกับพระเทวทัตทำให้ต้องเผชิญกับมิจฉาทิฏฐิ แต่สุดท้ายยังมีโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ สูงสุดอยู่ที่การอบรมกล่อมเกลาจิตใจอย่างเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

- พระเทวทัต
- อบรมโยนิโสมนสิการ
- มิจฉาทิฏฐิ
- พระเจ้าอชาตศัตรู
- สัมมาทิฏฐิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เทวทัตเป็นบุคคลที่น่าสงสารยิ่งนัก เพราะแม้จะมีบุญวาสนาได้ ถือกำเนิดในราชสกุล แต่ก็ขาดการอบรมปลูกฝังโยนิโสมนสิการ ยิ่งกว่านั้นยังถือเอาชาติกำเนิดเป็น “ปมเขื่อง” จึงคิดว่าตนจะ ต้องเหนือกว่าใคร ๆ เมื่อเห็นใครดีกว่าก็ทนไม่ได้ โดยไม่มี ปัญญาคิดพิจารณาคุณธรรมและความสามารถของตนเองเลย แม้มีโอกาสได้พบยอดกัลยาณมิตรของโลก คือ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้วก็ยังเอาดีไม่ได้ ทั้งนี้เพราะนิสัยที่คุ้นอยู่กับการ คิดชั่ว พูดชั่วและทํา ว ได้ฝังลึกลงในกมลสันดานเสียแล้ว จากกรณีของพระเทวทัตนี้ กล่าวได้ว่า ผู้ที่ขาดการ ปลูกฝังอบรมโยนิโสมนสิการมาตั้งแต่เยาว์วัยนั้น ย่อมถูกมิจฉา ทิฏฐิครอบงำาได้ง่าย จิตใจย่อมเศร้าหมองด้วยอาสวกิเลส เมื่อ ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้นานไป ย่อมยากที่จะพัฒนาสัมมาทิฏฐิให้ เกิดขึ้นได้ ดังคำโบราณว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น เนื่องจากพระองค์ทรงได้รับ การอบรมปลูกฝังโยนิโสมนสิการจากครอบครัวมาแต่เยาว์วัย ทั้งได้มีโอกาสรับรสพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน แต่เพราะเหตุที่ทรงคบหากับคนพาลคือพระเทวทัต พระเจ้าอชาต ศัตรูจึงกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไปชั่วระยะหนึ่ง แต่ต่อมา ๓๐๖
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More