ความหมายของคนดีในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 303
หน้าที่ 303 / 371

สรุปเนื้อหา

คำว่า “คนดี” ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า “บัณฑิต” ซึ่งหมายถึงการมีจิตใจผ่องใส และมีสัมมาทิฏฐิ คือการคิดดี พูดดี และทำดี การเป็นคนดีไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองอัตโนมัติ แต่ต้องมีการพัฒนาคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการปลูกมะม่วงที่ต้องอาศัยการดูแลอย่างดี ไม่เพียงแต่การมีสติปัญญา ยังต้องมีการปฏิบัติที่เป็นระเบียบ มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น การรู้จักทำบุญและไม่ทำบาปก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างตนให้เป็น “คนดี” ตามทำนองคลองธรรม และเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้อื่นเสมอ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของคนดีในพระพุทธศาสนา
-คุณธรรมและความเจริญเติบโต
-การพัฒนาตนเป็นคนดี
-บทบาทของบัณฑิตในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำว่า “คนดี” นั้น มีศัพท์ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า “บัณฑิต” บัณฑิตอาจจะเป็นใครก็ได้ทั้งสิ้น เช่น อาจจะเป็นผู้ ไม่รู้หนังสือเลย อาจจะเป็นชาวไร่ชาวนาผู้ยากจนก็ได้ แต่ต้อง เป็นผู้มีจิตใจผ่องใส มีสัมมาทิฏฐิ มีโยนิโสมนสิการ อาจกล่าว ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า “คนดี” ก็คือ ผู้ที่คิดดี พูดดี และทําดี ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คนดีจึงดำรงชีวิตอยู่อย่างถูกต้องตาม ทำนองคลองธรรม ไม่ทำในสิ่งที่ไม่สมควร ไม่ทำบาป ตั้งใจทำ บุญ มีความเมตตากรุณา พร้อมที่จะเป็นกัลยาณมิตรให้ผู้อื่น เสมอ การที่คนเราโดยทั่วไปจะสามารถเป็นคนดีได้นั้น ใช่ว่า จะเป็นเองได้โดยอัตโนมัติ ขอให้เราลองพิจารณาจากธรรมชาติ โดยรอบตัวเรา เช่น ถ้าเราหวังจะปลูกมะม่วงที่ให้ผลดีมีรสอร่อย สักต้นหนึ่ง เราจะต้องประกอบเหตุมากมายหลายอย่าง นับตั้ง แต่คัดเลือกมะม่วงพันธุ์ดี ปลูกลงในดินดี ต้องคอยรดน้ำ พรวน ดิน ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชที่ขึ้นแทรกแซง ครั้นถึงเวลาที่ มะม่วงออกช่อ เราก็จะต้องคอยฉีดน้ำ ฉีดยากันแมลงที่จะมา กัดกินดอก เมื่อมะม่วงตกผลแล้ว ถ้าจะให้ได้ผลดีเลิศ ก็จำต้องหา วัสดุที่สมควรมาห่อผลมะม่วงไว้ ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ ๓๐๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More