ความสำคัญของการควบคุมใจในการเผชิญกับความรู้สึก พระแท้ หน้า 185
หน้าที่ 185 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการควบคุมใจในขณะเผชิญกับสิ่งเร้าที่หลากหลาย เช่น รสชาติและสัมผัส ทางจิตใจต้องรักษาความนิ่งไม่ให้ไปติดกับความสุขหรือความทุกข์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจิตใจให้สูงส่งหรือนักปราชญ์ เนื้อหายังชี้ให้เห็นว่าเมื่อใจไม่มั่นคงสามารถนำไปสู่อันตรายได้ ดังนั้นการฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงทุกข์ในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

- การรักษาความนิ่งในใจ
- การเผชิญกับอารมณ์ที่หลากหลาย
- ความสุขและความทุกข์
- การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หรือไม่เอาใจก็หยุดกึกเสียไม่ได้ อ้ายนี่ถ้าปล่อย ไว้ไปติดมันเข้า เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ ทำใจ ของเราให้ต่ำ มันเป็นอภิชฌาโทมนัส มันเป็น ข้าศึกต่อเราแท้ ๆ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทําให้เป็นกายมนุษย์... พอรสกระทบลิ้นเข้าฉาด แหม! อ้ายรส สําคัญแท้ ๆ ขอบใจเสียจริง ๆ ใจก็นิ่งเสียอีก ไม่ข้องแวะ ไม่เหลียวแล มันเป็นโทษแก่เรา ถ้า ขืนไปรักอ้ายรสนี้ละก็ เดี๋ยวความดีใจเสียใจมัน ต้องประทุษร้ายเรา ใจก็จะนิ่งอยู่ไม่ได้ มันก็จะ ฆ่าเราเสียเท่านั้น ไม่ได้ ๆ ใจก็นิ่งอยู่อย่างนั้น.... พอสัมผัสกระทบร่างกาย เย็นร้อนอ่อน แข็ง เอ้า! ชอบใจหรือไม่ชอบใจเล่า ถูกเข้ามัน นิ่มนวลชวนปลาบปลื้มทีเดียว ไม่ได้ ๆ ๆ ไป ยุ่งกับอ้ายความสัมผัสไม่ได้ ถ้าเข้าไปยุ่งกับมัน ประเดี๋ยวเถอะ พาโทมนัสมาประทุษร้ายใจเรา ใจเราหยุดไม่ได้ เดี๋ยวเสียภูมิ เดี๋ยวใจของนัก ปราชญ์จะกลายเป็นใจของคนพาลไปเสียก็หยุด ໑໒໘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More