ความรู้และอุตตริมนุสสธรรม พระแท้ หน้า 270
หน้าที่ 270 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอความรู้ในเรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุธรรมระดับสูงของพระภิกษุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุตตริมนุสสธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความสำคัญและข้อห้ามในการอวดรู้วิเศษ พร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับบทลงโทษที่มีกฎหมายกำหนดให้กับพระภิกษุที่อวดอ้างสิ่งที่ตนไม่มี

หัวข้อประเด็น

- ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
- ทิพพจักขุ
- อาสวักขยญาณ
- อุตตริมนุสสธรรม
- ข้อห้ามการอวดอ้าง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้ สามารถระลึกชาติได้ ๗. ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์หรือจุตูปปาตญาณ ๔. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทําอาสวกิเลสให้สิ้น วิชชา ๓ อภิญญา ๖ หรือวิชชา ๘ เหล่านี้จัดว่าเป็น “อุตตริมนุสสธรรม” คือ ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรม ของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุบอก หรือแสดงแก่ผู้อื่นว่าตนบรรลุความรู้วิเศษเหล่านี้ ดังมีคำที่เรา มักได้ยินกันอยู่เสมอว่า “ห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรม” ถ้าภิกษุ รูปใดกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน จะต้องได้รับโทษ หนัก ซึ่งมีคำศัพท์โดยเฉพาะว่า “ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ ขาดจากความเป็นภิกษุทันที” แม้พระภิกษุที่บรรลุคุณวิเศษเหล่านี้ ถ้าหากกล่าวอวดอ้างย่อมถูกลงโทษเหมือนกัน แต่เป็นโทษ สถานเบา เมื่อพระภิกษุไม่เปิดเผยคุณวิเศษ เราก็ย่อมไม่มีโอกาสรู้ อย่างไรก็ตาม หากเราจะวินิจฉัยว่าพระภิกษุรูปใดดีหรือไม่นั้น เพียงพิจารณาคุณลักษณะของพระภิกษุในระดับ ๑ และระดับ ๒ ២៦៨
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More