ข้อความต้นฉบับในหน้า
ข้อควรระวัง
๑. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อ
ตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็ว ๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็ง
ตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ตาม จะทำ
ให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
๒. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอ
จากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่า
กังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมา
เสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิ
เจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการนึก “อาโลกกสิณ” คือ กสิณความ
สว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนา
ในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่
ประการใด
๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายทีเดียว
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี
อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อม
กับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
๕. นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย
ทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจ
๓๕๒