พระอรหันต์: ความหมายและลักษณะ พระแท้ หน้า 99
หน้าที่ 99 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้จะกล่าวถึงนัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์ในพุทธศาสนา โดยเฉพาะการพิสูจน์ความบริสุทธิ์และการหักกิเลสผ่านความรู้และปัญญา นอกจากนี้ยังพูดถึงคุณสมบัติที่ทำให้พระองค์ควรแก่การบูชา และความมั่นคงในจิตใจที่ไม่ทำชั่ว แม้ในที่ลับ การให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์จึงเป็นแนวทางสำคัญในพุทธศาสนา ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางมรรคและญาณที่พระองค์ประสบความสำเร็จ

หัวข้อประเด็น

-นัยที่ ๑ ไกลจากข้าศึก
-นัยที่ ๒ ทรงหักกำจักร
-นัยที่ ๓ ทรงควรแก่ปัจจัย
-นัยที่ ๔ ไม่ทรงทำชั่วในที่ลับ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

୭ นัยที่ ๑ ไกลจากข้าศึก “ข้าศึก” หมายถึงกิเลส พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ทั้งนี้เพราะทรงกำจัด กิเลสทั้งปวงด้วยมรรคแล้วโดยสิ้นเชิง จึงทรงพ้นจากกิเลส ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องดุจดวงแก้วอันหาค่ามิได้ สมดังคำว่า “พุทธ รัตนะ” เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ ๒ ทรงหักกำจักร “กำจักร” หมายถึงกิเลสทั้ง ปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหักกิเลสเหล่านั้นด้วยศาสตรา คือ ปัญญา เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ ๓ ทรงควรแก่ปัจจัย ทั้งนี้เพราะพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงบริสุทธิ์หมดจดด้วยประการทั้งปวง จึงทรงเป็น ทักขิไณยบุคคลอันเลิศยิ่ง ย่อมควรแก่ปัจจัยและการบูชาเป็น พิเศษ ยิ่งกว่าพรหม เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ ๔ ไม่ทรงทำชั่วในที่ลับ โดยเหตุที่พระสัมมาสัม พุทธเจ้าทรงก่าจัดกิเลส ตัณหา และอวิชชาทั้งปวง ด้วยมรรค และญาณโดยสิ้นเชิงแล้ว พระทัยจึงมั่นคงดังเสาเขื่อน ไม่ แปรผันยินดียินร้ายประการใด การทำกรรมชั่วทั้งหลาย แม้ใน ที่ลับ ย่อมไม่มีแก่พระองค์ผู้คงที่ เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนาม ๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More