การหยุดนิ่งใจสู่สมาธิและกายภายใน พระแท้ หน้า 223
หน้าที่ 223 / 371

สรุปเนื้อหา

การที่ใจหยุดนิ่งและไม่มีอารมณ์ใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับดวงจิต เป็นหนทางสู่เอกัคคตาและสมาธิในทางปฏิบัติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง ฌานเป็นระดับที่สูงขึ้น เมื่อจิตหยุดนิ่งอย่างถูกต้อง จะเกิดดวงฌานในกลางดวงจิต สร้างให้เห็นถึงกายภายในที่ละเอียดและมีคุณธรรม เช่น กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ และธรรมกาย สามารถรับรู้และเข้าถึงได้ ด้วยใจที่หยุดนิ่งเป็นสมาธิจนเห็นได้กับกายเหล่านั้นด้วยจิต โดยเฉพาะกายมนุษย์ละเอียดที่มีอีกชื่อว่า ‘กายฝัน’ ที่ทำให้สามารถไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในขณะที่คนเราหลับ

หัวข้อประเด็น

-สมาธิในทางปฏิบัติ
-ฌานและเนื้อหาของกายภายใน
-การรู้เห็นจิตและกายละเอียด
-บทบาทของสมาธิในพระพุทธศาสนา
-การหยุดนิ่งของจิตเข้าสู่วิตามินบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

• การที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่มีอารมณ์ใดในอารมณ์ทั้ง 5 เข้าไปเกี่ยวข้องกับดวงจิตเลย ได้ถึงซึ่งเอกัคคตา ดวงจิตถึงซึ่ง ความเป็นหนึ่ง นี้แหละ คือ “สมาธิในทางปฏิบัติ” แท้ ๆ จัดว่า เป็นสมาธิเบื้องต่ำาในพระพุทธศาสนา ส่วนสมาธิเบื้องสูงในทางปฏิบัติ คือ สมาธิในฌาน เมื่อ ผู้ปฏิบัติวางใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่ใสนั้น พอหยุดได้ถูกส่วน ก็จะเข้าถึงสมาธิเบื้องสูง เกิดเป็น “ดวงฌาน” ขึ้นกลางดวงจิต นั้น มีลักษณะกลมรอบตัวเป็นปริมณฑล ใสเป็นกระจกคันฉ่อง ส่องเงาหน้า มีกายมนุษย์ละเอียด นั่งอยู่กลางดวงฌานที่ผุด ขึ้นมานั้น ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่ง อยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเห็นดวงจิตของตนว่าเป็นสมาธิ ทุกคนในโลกนี้ ไม่ได้มีเพียงกายภายนอกที่ประกอบด้วยเลือดเนื้อนี้เท่านั้น แต่ยังมีกายภายใน ที่ละเอียด ประณีต และบริบูรณ์ด้วยคุณธรรม ซ้อนอยู่ภายในอีกมาก เรียกว่า “กายภายใน” หรือ “กายในกาย” ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึง ธรรมกาย เราไม่อาจมองเห็นกายเหล่านี้ได้ด้วยตาของมนุษย์ธรรมดา แต่จะรู้เห็นได้ด้วยใจ ที่หยุดนิ่งเป็นสมาธิ จนมีความละเอียด ประณีตเสมอกันกับกายเหล่านั้น เท่านั้น กายมนุษย์ละเอียด มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กายฝัน” เพราะขณะที่คนเรานอนหลับแล้ว ฝันว่าไปยังที่ต่าง ๆ นั้น กายมนุษย์ละเอียดนี้เองเป็นผู้ไป ๒๒๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More