การฝึกสมาธิเพื่อการได้ยินเสียงทิพย์ พระแท้ หน้า 239
หน้าที่ 239 / 371

สรุปเนื้อหา

ในข้อความนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูสอนว่าภิกษุที่มีจิตใจบริสุทธิ์และสมาธิเต็มที่ สามารถได้ยินเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลได้ เสมือนกับคนเดินทางที่สามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ในระยะทางไกลได้ เช่น เสียงกลอง เสียงตะโพน เป็นต้น การมีจิตที่ตั้งมั่นและไม่หวั่นไหวนั้นก็เป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงความสามารถนี้ ของการได้ยินเสียงสองชนิดนี้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางจิตใจและการตระหนักรู้

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาสมาธิ
-ทิพยโสต
-เสียงทิพย์
-การฝึกจิตใจ
-ความบริสุทธิ์ของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่อง แผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “ทิพยโสต” เธอย่อมได้ยิน เสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมาง บ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียง บัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตเพื่อ ทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด (คือ ๒๓๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More