หลักคำสอนของลัทธินครนถ์และศาสนาเชน พระแท้ หน้า 82
หน้าที่ 82 / 371

สรุปเนื้อหา

ลัทธินครนถ์เป็นลัทธิที่มีการกวดขันต่อร่างกายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการอดข้าว อดน้ำ เพื่อเข้าถึงสภาวะทิฆัมพร ปัจจุบันยังมีผู้นับถือศาสนาเชนในอินเดียหลายล้านคน โดยมุ่งเน้นที่คำสอนอันหลากหลายมุมมอง "อเนกานตวาทะ" นอกจากนี้ ศาสนาเชนยังมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตอย่างเคร่งครัด เช่น ไม่สามารถขึ้นรถหรือลงเรือได้ ทำให้ไม่แพร่หลายไปยังพื้นที่อื่นในโลก

หัวข้อประเด็น

-หลักคำสอนของนครนถ์
-ศาสนาเชนในอินเดีย
-อเนกานตวาทะ
-พวกนิครนถ์
-ชีวิตของนักบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9 กวดขันต่อร่างกาย อดข้าว อดน้ำ ตากแดด ตากลม ไม่นุ่งห่มผ้า หรือที่เรียกกันว่าอยู่ในสภาพของทิฆัมพร คือ ผู้นุ่งฟ้า สานุศิษย์ ในลัทธินี้ เรียกกันว่า “พวกนิครนถ์” นอกจากนี้ ท่านนิครนถนาฏบุตรยังมีหลักคำสอนแบบ “อเนกานตวาทะ” อีกด้วย คือ เห็นว่า “ความจริงมีหลายเงื่อน หลายแง่” เช่น เหตุการณ์หนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่นี้อาจจริงถูกต้อง แต่เมื่อพิจารณาอีกแง่หนึ่ง ก็ไม่จริง ไม่ถูกต้อง เป็นต้น ในบรรดาลัทธิทั้ง 5 นี้ มีลัทธินี้เพียงลัทธิเดียวที่ยังหลง เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน รู้จักกันในนามของ “ศาสนาเชน” โดยอยู่ ในฐานะเป็นศาสนาหนึ่งของอินเดีย ปัจจุบันยังมีผู้นับถือ ศาสนานี้อยู่ในอินเดียหลายล้านคน แต่แพร่ออกจากอินเดียไม่ได้ เพราะเคร่งครัดเกินไป นักบวชไม่สามารถขึ้นรถลงเรือได้ ୭ ๖. ครูสัญชัยเวลัฏฐบุตร บางทีเรียกสัญชัยปริพาชก ท่านผู้นี้คืออาจารย์เดิมของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ คำสอนต่าง ๆ ในลัทธินี้ล้วน “ไม่แน่นอน ซัดส่าย ลื่นไหล” เพราะเหตุหลายอย่าง เช่น พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน เล่ม ๔ หน้า ๓ GO
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More