การเข้าใจนิวรณ์ ๕ และสมาธิ พระแท้ หน้า 211
หน้าที่ 211 / 371

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงนิวรณ์ ๕ ที่เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนา โดยเปรียบเทียบกับการเป็นทาสและความลังเลสงสัย ทั้งนี้ นิวรณ์เหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุอริยภูมิของพระภิกษุและการทำจิตให้รวมเป็นหนึ่งเพื่อเข้าถึงสมาธิ ผู้ใดที่เผชิญนิวรณ์แม้เพียงข้อเดียว ก็จะไม่สามารถรวมใจได้ เมื่อรอดพ้นจากนิวรณ์ทั้ง ๕ จะทำให้จิตใจเข้มแข็งและสามารถบรรลุสมาธิได้

หัวข้อประเด็น

-นิวรณ์ ๕
-ความหมายของสมาธิ
-อุปสรรคทางจิตใจ
-การพัฒนาจิตใจ
-คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบอุทธัจจกุกกุจจะเหมือน “ความเป็นทาส” ผู้ที่เป็นทาสเขา จะไปไหนตามความพอใจ ไม่ได้ ต้องคอยพะวงถึงนาย เกรงจะถูกลงโทษ ไม่มีอิสระในตัว ๕) วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ มีคำถามเกิด ขึ้นในใจตลอดเวลา ทำให้ไม่แน่ใจในการปฏิบัติของตน เช่นนี้ ย่อมไม่สามารถทําใจให้รวมเป็นหนึ่งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบวิจิกิจฉาเหมือน “บุรุษ ผู้มั่งคั่งเดินทางไกลและกันดาร พบอุปสรรคมากมาย” บุรุษ ที่เดินทางไกล หากเกิดความสะดุ้งกลัวต่อพวกโจรผู้ร้าย ย่อม เกิดความลังเลใจว่า ควรจะไปต่อไปหรือจะกลับดี ความสะดุ้ง กลัวพวกโจรผู้ร้าย เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลของบุรุษฉันใด ความลังเลสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็น อุปสรรคต่อการบรรลุอริยภูมิของพระภิกษุฉันนั้น ผู้เจริญภาวนา หากถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง เข้าครอบงำ ย่อมไม่อาจรวมใจให้เป็นหนึ่งได้ ต่อเมื่อทำใจให้ ปลอดจากนิวรณ์ทั้ง ๕ รักษาใจให้แน่วแน่ ใจจึงจะรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “สมาธิ” ๒๐๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More