ปฏิปุจฉาพยากรณ์และเบญจกามคุณ พระแท้ หน้า 90
หน้าที่ 90 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับปฏิปุจฉาพยากรณ์ และวิธีการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจำแนกเป็น 4 รูปแบบ รวมถึงการทำบุญและผลบุญที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น และเบญจกามคุณที่ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ การทำความเข้าใจผ่านการแยกแยะปัญหาอย่างละเอียด และการย้อนถามเพื่อให้ลงลึกในประเด็นที่สำคัญ การพัฒนาจิตใจจากการปฏิบัติศาสนาและการเข้าใจในหลักของบุญคือแกนหลักในการศึกษา

หัวข้อประเด็น

-ปฏิปุจฉาพยากรณ์
-วิธีการตอบปัญหา
-เบญจกามคุณ
-ความเชื่อมั่นในบุญ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า ปฏิปุจฉาพยากรณ์" เพื่อให้พระเจ้าอชาต ศัตรูสามารถตระหนักในสามัญญผลเบื้องต้นด้วยพระองค์เอง โดยตรัสถามพระเจ้าอชาตศัตรูว่า “มหาบพิตรในข้อนี้ตถาคตจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัยเถิด สมมุติว่าบุรุษผู้เป็นข้าทาส บริวารคนหนึ่งของมหาบพิตร เป็นผู้มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อมหาบพิตรเสมอมา ทั้งปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่อง แต่บุรุษผู้นี้มีความเชื่อมั่นในเรื่องผลของบุญ เชื่อมั่นว่าถ้าตนตั้งหน้าตั้งตาทำบุญ ต่อไปในภายหน้าก็ย่อมจะ ได้เสวยผลบุญ เป็นผู้มีอำนาจวาสนา พรั่งพร้อมด้วยเบญจ กามคุณ และข้าทาสบริวารมากมายเช่นเดียวกับมหาบพิตร คิด การตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๔ แบบ คือ ๑. เอกังสพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาแง่เดียว ตอบโดยตรง เช่น ถามว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงหรือ ตอบว่า ไม่เที่ยง เป็นต้น ๒. วิภัชชพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาโดยการจำแนกแก้ แจกแจง แยกแยะ รายละเอียดให้ผู้ฟังเข้าใจชัด ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาโดยการย้อนถาม ๔. ฐปนียพยากรณ์ คือ การงดตอบ เพราะเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ เบญจกามคุณ (สัมผัสทางกาย) ได้แก่ สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ CC
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More