ดวงใจและการเข้าถึงธรรมกาย พระแท้ หน้า 213
หน้าที่ 213 / 371

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายเกี่ยวกับดวงใจของคนเรา โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับกระบอกตา ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แบ่งเป็น ๔ ชั้น ได้แก่ ดวงเห็น, ดวงจ๋า, ดวงคิด และดวงรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดวงเห็นทำหน้าที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัส ในขณะที่ดวงชั้นในสุดคือดวงรู้ที่นำไปสู่การตรัสรู้ธรรม นอกจากนี้ยังพูดถึงการเข้าถึงธรรมกายและวิธีการทำให้ใจหยุดนิ่งเพื่อเข้าถึงญาณทัสสนะและรู้แจ้งตามความเป็นจริง พระสิทธัตถราชกุมารได้ตรัสรู้ธรรมด้วยการเข้าถึงธรรมกาย

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของดวงใจ
-การทำใจให้หยุดนิ่ง
-การเข้าถึงธรรมกาย
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอริยสัจสี่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เห็นใจของตนเองและแม้ของผู้อื่นได้ชัดเจนว่า ดวงใจของคน เรานั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตเท่ากระบอกตาของตนเอง ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางลำตัว เหนือ ระดับสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ เนื้อของดวงใจมีลักษณะเป็นดวง ช้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ ชั้นนอกเป็น “ดวงเห็น ชั้นที่สองเป็น “ดวงจ๋า” ชั้นที่สามเป็น “ดวงคิด” และชั้นในสุด เป็น “ดวงรู้” ๆ “ดวงเห็น” เป็นดวงชั้นนอกสุด ขนาดโตเท่ากระบอกตา ของตนเอง มีหน้าที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือรับรูปผ่านประสาทตา รับเสียงผ่านประสาทหู รับกลิ่นผ่าน ประสาทจมูก รับรสผ่านประสาทลิ้น รับสัมผัสผ่านประสาทกาย และรับธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ “ดวง” เป็นเนื้อใจชั้นที่สอง ช้อนอยู่ข้างในดวงเห็น แต่ใสกว่าดวงเห็น ขนาดโตเท่าดวงตาของเรา มีหน้าที่ “จำ” สิ่ง ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม มีอยู่ที่ศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคน จะเข้าถึงได้ ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง และดำเนินจิตเข้าสู่หนทางสายกลาง ธรรมกายมีความเห็นพิเศษที่ เรียกว่า ธรรมจักษุ หรือ ตาธรรมกาย มีความรู้พิเศษที่เรียกว่า ญาณ หรือ ญาณทัสสนะ เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว จึงสามารถทั้งรู้ทั้งเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง พระสิทธัตถราช กุมารตรัสรู้อริยสัจสี่ด้วยธรรมกาย จึงได้เข้าถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๑๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More