สติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา พระแท้ หน้า 190
หน้าที่ 190 / 371

สรุปเนื้อหา

สติสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวในการกระทำต่าง ๆ ของพระภิกษุ โดยยืนยันว่าทุกอิริยาบถต้องทำด้วยสติ ป้องกันความผิดพลาดและความหลงลืม ความสำคัญของสติสัมปชัญญะไม่เพียงตนเอง แต่ยังต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสังคม หากพระภิกษุขาดความรู้สึกตัว อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสถาบันศาสนา และสำหรับคนทั่วไปก็เสี่ยงต่อการล้มเหลวในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสติสัมปชัญญะ
-อิริยาบถของพระภิกษุ
-ผลกระทบต่อสังคม
-บทบาทของพระภิกษุในศาสนา
-การป้องกันความหลงลืม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓. โคจรสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตนกำลัง ทํานั้นเป็นกิจที่ควรหาหรือไม่ ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตน กำลังทำนั้นเป็นความหลงเข้าใจผิด หรืองมงายหรือไม่ การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ” ย่อมหมายความว่า ทุกอิริยาบถ ที่พระภิกษุกระทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การยืน การเดิน การนอน การพูด การนิ่งไม่พูด หรือการกระทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ กล่าวนี้ พระภิกษุจะกระทำด้วยความรู้สึกตัวเสมอ ไม่มีการลืม หรือเผลอสติ สติสัมปชัญญะนี้เป็นเรื่องสําคัญยิ่งสําหรับทุก ๆ คน ผู้ ที่ย่อหย่อนในธรรม ๒ ประการนี้ นอกจากตนเองจะประสบ ความล้มเหลว ขาดความยกย่องนับถือจากผู้อื่นแล้ว ยังทำลาย ชื่อเสียงเกียรติคุณของสังคมส่วนรวมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นพระภิกษุด้วยแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรงต่อสถาบันศาสนาทีเดียว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุเป็นที่ตั้ง แห่งศรัทธาของฆราวาสโดยทั่วไป ๑๘๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More