การเปรียบเทียบหลักธรรมวินัยกับโยคาวจร หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับประชาชน หน้า 141
หน้าที่ 141 / 278

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการเปรียบเทียบหลักธรรมวินัยและโยคาวจรโดยอิงจากบทเทศน์ของพระมงคลเทพมุนีรวมทั้งคัมภีร์โยคาวจรต่างๆ เช่น พุทธราณะ โอมสการ และอื่นๆ การวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็นสองหัวข้อหลัก ได้แก่ การเปรียบเทียบหลักการและการปฏิบัติสมาธิ โดยมุ่งหวังที่จะหาแนวทางและสาระสำคัญในการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นและการเข้าใจธรรมะให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ศึกษาจากประสบการณ์และคำสอนจากมุมมอง “สายปฏิบัติ”

หัวข้อประเด็น

-การเปรียบเทียบหลักการ
-ปฏิบัติสมาธิ
-วิชชาธรรม
-โยคาวจร
-พระธรรมเทศนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฐานของธรรมภายในคัมภีร์พุทธโหราณ 1 ฉบับประชาชน 2. การเปรียบเทียบหลักธรรมวินัยกับโยคาวจร การวิเคราะห์ในส่วนนี้เป็นการเปรียบเทียบหาความเหมือนและความแตกต่างในหลักการและการปฏิบัติของวิชชาธรรมและโยคาวจรโดยรวมส่วนวิธีการวิเคราะห์จะอธัยเนื้อหาในข้อความที่ปรากฏในบทเทศน์ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสิโร) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ รวมพระธรรมเทศนาโดยวัดปากน้ำภาษเจริญ เปรียบเทียบกับเนื้อหาในข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์โยคาวจรต่างๆ ที่ได้ศึกษาร่วม อันได้แก่คัมภีร์ พุทธราณะ พระฤษีกิลด์ บัวระพันธ ธัมมายุ อุปปาตสันติ และมูลกัลมุตฺตา (ฉบับล้านนา) การเปรียบเทียบดังกล่าวจงเฉพาะการปฏิบัติ สารภาพนานุเป็นหลัก โดยอาจมีสาระอื่นที่เกี่ยวข้องบ้าง การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบนี้แบ่งเป็นสองหัวข้อใหญ่ คือ การเปรียบเทียบหลักการระหว่างวิชชาธรรมกับโยคาวจร และการเปรียบเทียบการปฏิบัติสมาธิจากส่วนทั้งสองฝ่าย เพื่อหา ความเหมือนและความแตกต่างในหัวข้อ ต่างๆ จากนั้นจะใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สรุปผลต่อไป 2.1 หลักการ หลักการในทวิวิเคราะห์นี้ครอบคลุมสาระอันจะเป็นที่มาของการปฏิบัติ สาระดังกล่าวได้แก่ยามของคำว่าธรรรมวินัยและศัพท์บางคำที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ภายใน เรื่องของมนุษย์และธรรมะ จิตบริสุทธิ์ของมนุษย์ บุญ-บาปเครื่องตัดสินมนุษย์ ขันธ์ 5 อันเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น นิธิความสำวัง นิธิสมาธิ การได้พบพระพุทธเจ้า รวมถึงการเป็นคำสอนที่ได้จากมุมมอง “สายปฏิบัติ” เป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More