ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปฏิรูป คือ แก้ไขปรับปรุงอะไรของมนุษย์
สิ่งที่จะต้องปฏิรูปก็คือ “สันดานและนิสัยที่ไม่ดีงามของมนุษย์”
สันดาน กับ นิสัย แตกต่างกันอย่างไร
คำว่า สันดาน ในพจนานุกรม หมายถึงอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด นั่นคือ ความประพฤติ ที่เกิด
ขึ้นเองโดยไม่ต้องมีผู้ปลูกฝังให้ ซึ่งมีทั้งอุปนิสัยที่ดีและไม่ดี ตัวอย่างอุปนิสัยที่ดีก็คือ ความมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ
ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความใฝ่ดี เป็นต้น ตัวอย่างอุปนิสัยไม่ดีก็คือ อารมณ์ร้อนโกรธง่าย ใจน้อย เห็น
แก่ตัว เป็นต้น
ส่วนคำว่า นิสัย หมายถึง ความประพฤติเคยชิน ซึ่งมีทั้งความประพฤติที่ดีและไม่ดี ตัวอย่าง
นิสัยที่ดีก็คือ การตรงต่อเวลา การทำงานไม่คั่งค้าง ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น ตัวอย่างนิสัยที่ไม่ดีได้แก่
การขาดความรับผิดชอบ การเอารัดเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อื่น ความมักง่าย เป็นต้น
อะไรคือสาเหตุแท้จริงแห่งสันดาน และนิสัยที่ไม่ดีของคนเรา
ก่อนอื่นขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า คนเรานั้นประกอบด้วย กาย กับ จิต
องค์ประกอบทั้ง 2 นี้ ถ้าขาดภูมิคุ้มกันก็จะเกิดโรคขึ้น กล่าวคือ ถ้าร่างกายขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ
ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เช่น เป็นไข้หวัด เป็นโรคปอดบวม ฯลฯ
จิตใจคนเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนทันที แต่
ทว่าโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนจิตใจนั้น ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า กิเลส ไม่เรียกว่าโรคภัยไข้เจ็บ นั่นคือ
ถ้าจิตใจขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ตระกูล คือ โลภะ โทสะ และ
โมหะ ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิตใจคนเรามาแต่กำเนิด อันเป็นเหตุ ให้คนเราแสดงพฤติกรรมเลวร้ายต่างๆ ออก
มา แต่ถ้าจิตใจมีภูมิคุ้มกันอย่างดี กิเลสก็จะไม่สามารถออกฤทธิ์กำเริบขึ้นได้ คนเราจึงสามารถประพฤติ
ตนอยู่ในศีลในธรรม
โดยสรุปก็คือ ใครก็ตามที่จิตใจของเขามีภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง เขาก็จะมีสันดานดี ในทางกลับกัน
ใครก็ตามที่จิตใจของเขาขาดภูมิคุ้มกัน หรือมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ เขาก็จะมีสันดานไม่ดี
ผู้ที่มีสันดานดีย่อมประพฤติตนดีอยู่เสมอ ย่อมเป็นคนนิสัยดีด้วย ส่วนผู้ที่มีสันดานไม่ดี ก็จะ
ประพฤติไม่ดีอยู่เป็นนิจ จึงเป็นคนนิสัยไม่ดีไปโดยปริยาย
จากที่กล่าวมานี้นักศึกษาคงได้เห็นแล้วว่า ทั้งสันดานและนิสัยที่ไม่ดีนั้น มีสาเหตุมาจาก การ
ที่จิตใจขาดหรือหย่อนภูมิคุ้มกัน
* พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์ DOU 5